การเปรียบเทียบการวัดสัณฐานวิทยาปีกของผึ้งโพรงไทยระหว่างกลุ่มประชากรผึ้งโพรงไทยทางเหนือจากรังธรรมชาติและประชากรลูกผสมในพื้นที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indico) เป็นผึ้งพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม จัดกลุ่มประชากรหลักตามการแพร่กระจายทางเหนือหรือไต้ของบริเวณคอคอดกระ ได้แก่ กลุ่มประชากรเหนือ และกลุ่มประชากรใต้ เป็นผึ้งที่นิยมเลี้ยงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของไทย ในปี พ.ศ. 2561 ได้นำผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรใต้เข้าเลี้ยงในพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ร่วมกับผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของปีกในประชากรผึ้งโพรงไทย กลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติ และรังลูกผสมจากพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน การวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานวิธีการวัดสัณฐานบนปีก โดยการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน จำนวน 9 ลักษณะสำคัญ แสดงให้เห็นว่าผึ้งโพรงไทยทั้งหมดนี้เป็นผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรเหนือ ซึ่งยืนยันจากลักษณะดัชนี Cubhol (CI) ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p.05) และวิธีการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตแสดงผลการจำแนกกลุ่มจากการกำหนดจุดบ่งชี้บนปีกหน้า 19 และ 25 ตำแหน่ง มีศักยภาพในการบ่งชี้ความผันแปรของผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติและรังลูกผสมได้ชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดจุดปงชี้ 25 ตำแหน่ง นอกจากนี้กำหนดจุดจุดบ่งชี้ในเซลล์มีเดียล 11, 7 และ 8 ตำแหน่ง อาจไม่สามารถระบุความผันแปรดังกล่าวได้ การศึกษานี้สรุปได้ว่าประชากรผึ้งโพรงไทยที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือทั้งหมดจากผลการยืนยันของค่าดัชนี Cubital แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความผันแปรภายในสัณฐานวิทยาของปีกด้วยการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตด้วยการกำหนดจุดบ่งชี้ 19 และ 23 ตำแหน่ง ที่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างผึ้งโพรงรังธรรมชาติที่มีการแพร่กระจายจากจังหวัดที่แตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มผึ้งโพรงลูกผสมได้ ดังนั้นวิธีการวัดสัณฐานวิทยายังคงเป็นวิธีที่มีศักยภาพในการตรวจสอบความแปรผันและติดตามการแพร่กระจายของประชากรผึ้งโพรงไทยได้ในอนาคต
Description
Apis cerana indica is a native bee with morphological and genetic diversity. The main populations can be grouped according to the distribution Kra Isthmus region, consisting of the northern and the southern populations. It is a popular beekeeping that generates income for farmer in Thailand. In year 2018, the southern population bees were brought to the organic farming area at Chun Sub-district, for breeding with the natural bees of the northern population. The objective is to examine and monitor the morphological changes of the wings in the A. c. indica natural northern population and hybrid colonies of organic farming area in Chun Sub-district. The analysis is based on wing morphometric. By using standard morphometric with 9 key characters shows that cubital index (CI) is not significant differences (pS0.05). And, by using geometric morphometric plotted on forewing for 19, 23 landmarks and Medial cell for 11, 7, 8 landmarks, the results of discrimination analysis of Medial cells indicate that, it is no potential for specifying these variances. This study concluded that the studied population of A. c. indica was the northern population based on the confirmed results of the cubital index. But it also showed the variations within the morphology of wings by the morphometric geometric by specifying 19 and 23 landmark that can identify the differences between natural northern population bees those have spread from different provinces and hybrids colonies. Therefore, the method of morphometric measuring is still a potential way to check variations and monitor the spreading of the A. c. indica population in the future
Keywords
ผึ้งโพรงไทย, ความผันแปร, ปีก, การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน, การวัดสัณฐานแบบเรขาคณิต, Apis cerana, Variation, Wing, Standard morphometrics, Geometric morphometrics
Citation
กฤติยา ตรีฆาอายุ และวัฒน์ธนภรณ์ จันทาพูน. (2563). การเปรียบเทียบการวัดสัณฐานวิทยาปีกของผึ้งโพรงไทยระหว่างกลุ่มประชากรผึ้งโพรงไทยทางเหนือจากรังธรรมชาติและประชากรลูกผสมในพื้นที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.