ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Author "ก่อพงศ์ นามวัฒน์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemเจงกิสข่าน: การศึกษาประพันธวิธีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์วีรบุรุษแห่งโลกตะวันออกของนักเขียนไทยร่วมสมัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ก่อพงศ์ นามวัฒน์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประพันธวิธีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์วีรบุรุษแห่งโลกตะวันออกของนักเขียนไทยร่วมสมัย โดยใช้ตัวบทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เจงกิสข่าน ที่ตีพิมพ์ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2498 -2556 จำนวน 3 เรื่อง คือ เตมูยิน จอมจักรพรรดิเย็นกิสข่าน ของประพันธกร เจ็งกิ้ซข่าน ของ สุภา ศิริมานนท์ และเจงกิสข่าน ของ "สุริยา" มาใช้ในการวิจัย โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างนวนิยาย แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ในวิถีวีรบุรุษของเจงกิสข่าน และการศึกษาแนวคิดการประกอบสร้างนวนิยายเจงกิสข่าน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) แนวคิดการประกอบสร้างนวนิยาย พบว่า ผู้ประพันธ์นำข้อมูลจากหนังสือสารคดี และหนังสือประวัติศาสตร์ สร้างผสานกับจินตนาการจากมุมมองและการตีความเฉพาะตน แล้วนำเสนอเนื้อหาผ่านโครงเรื่องชีวิตความขัดแย้งและปมปัญหาที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ แก่นเรื่องเน้นเชิดชูและวิพากษ์วีรบุรุษโดยใช้มุมมองการเล่าเรื่องแบบผู้รู้ มีตัวละคตรเจงกิสข่านเป็นแกนกลางของเรื่อง นวนิยายเน้นความสมจริงของฉากและบทสนทนา โดยมีกลวิธีทางภาษาที่มีวรรณศิลป์เป็นแบบเฉพาะตน 2) แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ในวิถีวีรบุรุษของเจงกิสข่าน มี 2 ประเด็น การศึกษาวัฒนวิถีแห่งวีรบุรุษ มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบโครงสร้างชีวิตของวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณี พบว่า มีความสอดคล้องกับแนวคิดการศึกษาแบบโครงสร้างชีวิตของวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณีของลอร์ด แรกแลน แม้ผู้เขียนเน้นบทบาทวีรบุรุษในประวัติศาสตร์แต่มีภาพซ้อนวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณีด้วย ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ชีวีวิวัฒน์แห่งวีรบุรุษ พบว่า วิถีของเจงกิสข่านสอดคล้องกับวงจรการผจญภัยของวีรบุรุษตามทฤษฎีของโจเซฟแคมพ์เบลล์ สามารถแบ่งโครงสร้างแกนวัฒนวิถีวีรบุรุษตามเกณฑ์การแสวงหาสารสาระที่แตกต่างกัน 2 ครั้ง พบขั้นตอนถนนแห่งการทดสอบหลายเหตุการณ์แสดงถึงการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาอย่างสาหัส แต่วีรบุรุษใช้สติปัญญา ความสามารถ ความเป็นผู้นำ และการช่วยเหลือจากภายนอก ด้วยการแสวงหาเครือข่ายพันธมิตร การแนะนำจากมารดาและภรรยาในฐานะเทพเทวี ผสานกับการเชื่อมั่นว่าได้รับพลังสนับสนุนจากเทพเทนกรี จึงผ่านพ้นอุปสรรค แล้วนำสิ่งล้ำค่าจากโลกแห่งการผจญภัย คือ ก่อตั้งรัฐชาติ เกียรติยศ อิสระ สันติสุข และอารยธรรม มามอบให้สังคมมองโกล 2 แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์เจงกิสข่านในนวนิยาย มีการเสนอภาพลักษณ์ต่างกันตามจุดมุ่งหมายของผู้เขียน 2 ประเด็น คือ 1) ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ มี 7 ภาพลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์วีรบุรุษผู้ปราบกลียุค วีรบุรุษผู้สร้างรัฐชาติและอารยธรรม จักรพรรดิวิชิตราช วีรบุรุษผู้มีความเป็นผู้นำ วีรบุรุษผู้เปลี่ยนแปลงโลก วีรบุรุษของศาสนา และจักรพรรดิผู้เหี้ยมโหด 2) ภาพลักษณ์ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น มี 7 ภาพลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์ครอบครัวมีสุข บุตรที่ดีของบิดามารดา ธรรมิกราช วีรบุรุษจอมโจร นักรบนักรัก นักประชาธิปไตย และวีรบุรุษทรราช โดยมีวิธีประกอบสร้างภาพลักษณ์ที่หลากหลาย การประกอบสร้างนวนิยายเจงกิสข่านของนักเขียนไทยร่วมสมัย มีแนวคิดสำคัญ 5 แนวคิด คือ แนวคิดยกย่องเจงกิสข่านในฐานะบุคคลสำคัญของโลก แนวคิดกษัตราธิปไตย แนวคิดชาตินิยม แนวคิดวิพากษ์สังคม และแนวคิดเชิดชูวีรบุรุษ