รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorสิริพร บุญพา
dc.date.accessioned2024-09-26T07:08:57Z
dc.date.available2024-09-26T07:08:57Z
dc.date.issued2019
dc.descriptionThe purposes of this research were to study the sufficiency causal factors of junior high school students and to examine the administrative model for the development of sufficiency apply to junior high school students under Bangkok Metropolitan Administration. The research methodology was a combination of quantitative and qualitative research methods. The samples were 500 junior high school students in schools under Bangkok Metropolitan Administration, using multi-stage sampling. The research instruments were set of 11 questionnaires mostly were summate rating scale with the reliability were between .731-.899. The descriptive and inferential statistic were used to analyze the collected data. The inferential statistic used to test the hypothesis were Stepwise Multiple Regression Analysis, Confirmatory Factor Analysis and Path Analysis. The research findings were 1) The group of social situation variables could explain sufficient-psycho for 20.7%, sufficient behavior were between 12.1-15.5% which less than 25%. 2) The group of psycho-trait variables or psycho-situation variables could explain sufficient-psycho much more than explain only by the social situation variables for 14.5 to 18.9% could add to explain sufficiency behavior for 7.4 to 22.5% (higher than 5% in all cases) 3) at risk group of students needed urgent attention were male students, grade 2 students and students were born in Bangkok. There were different important protection factors for between at risk groups. 4) The Sufficiency Development Model was found that the model fit at good level. All of the causal variables could explain variance of sufficiency behavior of junior high school students under Bangkok Metropolitan for 65%. 5) The administrative model for the development of the sufficiency of junior high school students under Bangkok Metropolitan Administration as assess by the experts was practical. Average rating for aspects were 90.00 to 92.14, while the average of total was 90.89% (criteria 70/75%). The research results lead to the practical applications and inspired of new research topics in the future.
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาความพอเพียง และพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปร 11 แบบวัด ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินค่า มีค่าความเที่ยง (α) ต่ำสุด คือ 0.731 สูงสุด คือ 0.899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมสามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียนได้ร้อยละ 20.7 อธิบายพฤติกรรมพอเพียง ได้ร้อยละ 12.1 ถึง 15.5 ซึ่งอธิบายได้น้อยกว่าร้อยละ 25 2) กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และ/หรือกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มจากที่อธิบายโดยกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมร้อยละ 14.5 ถึง 18.9 อธิบายพฤติกรรมพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ถึง 22.5 (สูงกว่าร้อยละ 5 ทุกกรณี) 3) นักเรียนที่มีความพอเพียงน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา ได้แก่ นักเรียนชาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยปกป้องที่สำคัญ สำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่มเสี่ยงมีความแตกต่างกัน 4) รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี โดยอธิบายได้ร้อยละ 65 5) รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยรายด้านตั้งแต่ ร้อยละ 90.00 ถึง 92.14 ค่าเฉลี่ยโดยรวม ร้อยละ 90.89 (ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/75%) ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยที่ควรจะต้องทำต่อไปในหลายประเด็น
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationสิริพร บุญพา. (2562). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/808
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectรูปแบบการบริหารการพัฒนา
dc.subjectความพอเพียง
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.subjectAdministrative model
dc.subjectSufficiency
dc.subjectJunior high School Students
dc.titleรูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeAdministrative Model for the Development of Sufficiency for Junior High School Students under Bangkok Metropolitan Administration
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Siriphon Boonpha doc.pdf
Size:
2.13 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: