สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา
dc.contributor.author | ญดา สุขเกิด | |
dc.date.accessioned | 2024-04-25T08:46:38Z | |
dc.date.available | 2024-04-25T08:46:38Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | This research study To study the issue of the resignation of university education. University District and to study the issue of the resignation of University education. University district the population in this study are students of University district. The petition of resignation. University district 268 the scope of the study include the issue of the resignation of university students from the University of 4 aspects. Management course and faculty/ staff the instruments used in the study was a questionnaire. and interview analysis of the resulting data the frequency percentage. And the standard deviation, the researchers found. In the fourth aspect, the students' opinions on the issue of the resignation of university education. University district the average is moderate. Considering it was found that the faculty/staff. The high level Then all sides are moderate in descending order of descending the field of teaching. The university and the students, respectively. Overall, the students have an average level. The first two items they found. Is moderate All the same In order from an average of descending as educational institutions in adapting to university studies. The study did not reach the university standard. Family Readiness In further support A study in subjects that do not match your interests. The availability of finance courses the study did not meet with aptitude. The availability of physical and mental health. And the relationship between friends the joint institutions. The University Overall, the average is moderate. When considering that they are moderate deal as well. In order from most to least the location of the university away from home loans to fund a university education and government emergency loans. Infrastructure of quality confidence in the quality of University education. The safety of the campus shuttle service. The shuttle service to campus. Campus atmosphere and environment conducive to studying and living on campus and facilities, respectively. Management course Overall, the average is moderate. The first two items they found on average in the medium as well. In order from most to least as a medium of instruction, such as insufficient quality are often damaged. But no maintenance Importing documents in recent years in teaching. Participation in learning. Programs and courses that teach students do not meet the needs of the labor market, respectively. And The faculty / staff Problems with the resignation of Education. Overall, the average level. When considered individually, found that the average level of 3 sorted by descending below the service personnel, followed by the attentive care of advisors. And consultation of the faculty. The rest are moderate Sort by descending the attention of the student tutors to students. The reputation of teachers Teaching experience of teachers. Technology transfer knowledge to students. And qualifications of instructors, respectively | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่ยื่นคำร้องลาออกการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 268 คน ขอบเขตเนื้อหาที่ทำการศึกษา ได้แก่ สภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า นิสิตมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอาจารย์/บุคลากร อยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านมหาวิทยาลัย และด้านนิสิตตามลำดับ ด้านนิสิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ต้องการศึกษาในสถาบันการศึกษาอื่น การปรับตัวเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ความพร้อมทางครอบครัวในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับความสนใจ ความพร้อมด้านการเงิน หลักสูตรสาขาวิชาที่เรียนไม่ตรงกับความถนัด ความพร้อมด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมสถาบันการศึกษา ตามลำดับ ด้านมหาวิทยาลัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอยู่ไกลบ้าน มหาวิทยาลัยมีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจากรัฐบาลและกองทุนกู้ยืมฉุกเฉิน ด้านสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพความเชื่อมั่นในคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย ความปลอดภัยในการใช้บริการรถรับส่งภายในมหาวิทยาลัย การบริการรถรับส่งภายในมหาวิทยาลัย บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการเรียนและการใช้ชีวิต และสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ อาทิ เช่น มีการชำรุดบ่อย แต่ไม่มีการบำรุงรักษา การนำเอกสารในปีที่ผ่านมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และหลักสูตรสาขาวิชาที่เรียนสอนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตามลำดับ และด้านอาจารย์/บุคลากร มีสภาพปัญหาการลาออกการศึกษา โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การให้บริการของบุคลากร รองลงมา คือ ความเอาใจใส่ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และการให้คำปรึกษาของคณาจารย์ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลางเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความเอาใจใส่ด้านการเรียนของอาจารย์ผู้สอนต่อนิสิต ชื่อเสียงของอาจารย์ที่สอน ประสบการณ์ในการสอนของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นิสิต และคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอนตามลำดับ | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/444 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | สภาพปัญหา | |
dc.subject | แนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษา | |
dc.subject | Problems | |
dc.subject | Solutions resignation study | |
dc.title | สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.title.alternative | The Study of Problem and Solutions of Resignation. Study of Students Phayao University | |
dc.type | Thesis |