ประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ไก่พันธุ์ปาปาซุงป็นไก่กระดูกดำพื้นเมืองของไทยที่มีศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาลักษณะปรากฏ และประสิทธิภาพการผลิตของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง จำนวน 3 รุ่น จากผลการทดลอง พบว่า ลักษณะปรากฏคงที่ของไก่ ได้แก่ หงอนเป็นแบบหงอนจักร ตาสีดำ แข้งสีดำ สีขนสร้อยคอ และสีขนลำตัวเป็นสีขาว ลักษณะปรากฎที่มีความหลากหลาย ได้แก่ สีหงอน สีใบหน้า สีปาก และสีตุ้มหู น้ำหนักตัวเฉลี่ยที่อายุ 16 สัปดาห์ของไก่เพศผู้ โดยในรุ่นที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเท่ากับ 1,230±120.27, 1,398.01±173.98 และ 1,458.93±127.73 กรัม และเพศเมียมีค่าเท่ากับ 928.02±82.46, 1036.40±81.22 และ 1120.83±74.84 กรัม (P < 0.05) ตามลำดับ และอัตราการเจริญเติบโตของลูกไก่ รุ่นที่ 3 ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีค่าที่สูงกว่ารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของระดับของโปรตีนและสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง ในช่วง 0-6 สัปดาห์ จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าน้ำหนักตัวสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันของไก่กลุ่มที่ได้รับโปรตีนสูงมีค่ามากกว่าไก่กลุ่มที่ได้รับโปรตีนต่ำ สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนในอาหาร ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวสุดท้ายน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน การลดระดับของโปรตีน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในช่วง 8-16 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินได้รวมและปริมาณโปรตีนที่กินรวมได้ มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ตามการใช้สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนที่สูงขึ้น และสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีน มีผลต่อลักษณะซากบางประการ การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของน้ำหนักฆ่า 3 ระดับ คือ 1,200 กรัม, 1,500 กรัม และ 1,700 กรัม ต่อลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง ผลการศึกษา พบว่า ไก่ที่มีน้ำหนักฆ่า 1,200 กรัม มีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำที่สุดและค่าการสูญเสียน้ำเนื่องจากการเก็บรักษาของเนื้อสะโพกสูงที่สุด 65.32 และ 3.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (P < 0.05) น้ำหนักฆ่าไม่มีผลต่อองค์ประกอบทางเคมีและค่าสีของเนื้อ
Description
Papasoong is Thai native black-bone chicken that its productive performance could be improved. This research consists of 3 experiments. Experimental 1 was to study phenotype characteristics and the productive performance of the 3 different generations chicken. The results indicated that Non-phenoty variation traits of Papasoog black-bone chicken have single comb type, black eye and shank. The plumage and hackles of both males and females are white. Variation traits were observed only in color of comb, face, beak and ear lobe. Average body weight at 16-week-old of the generation 1, 2 and 3 of male were 1,230±120.27, 1,398.01±173.98 and 1,458.93±127.73 g. and female were 928.02±82.46, 1,036.40±81.22 and 1,120.83±74.84 g. Average daily gain of the 3th generation was significant higher than 2nd and 1st generation, respectively. Experiment 2 was carried out to evaluate the effect of different CP levels and energy-to-protein ratio (EPR) on performance and carcass characteristics of Papasoong black-bone chicken. The results showed that body weight, body weight gain and average daily gain of High protein level group were higher than lower protein level group. But body weight at 8 wk., body weight gain and ADG were unaffected by the different in EPR. Reduction in dietary CP level was significantly decreased FCR (P < 0.05). During the 8-16 wk. of age, total feed intake and total protein intake had significantly increased with the EPR increased. Furthermore, Ratio of energy and protein effected on some carcass parameters. Experiment 3 was carried out to evaluate the effect of different slaughter weights (1,200 g., 1,500 g. and 1,700 g.) on carcass characteristics of Papasoong black-bone chicken. The result show that 1,200-group showed lowest dressing percentage (P < 0.05) and percentage of drip loss of thigh meat was the highest (65.32% and 3.21%, respectively) (P < 0.05). Slaughter weight has no effects on chemical composition and color of meat.
Keywords
ประสิทธิภาพการผลิต, ลักษณะซาก, ไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง, Perfomances, Carcass characteristics, Papasoog black-bone chicken
Citation
ชัยณรงค์ วงค์สรรศรี. (2562). ประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).