การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
No Thumbnail Available
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973) ให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 294 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า โดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงตรง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ค่าสถิติ LSD ค่าสถิติ (Scheff’) การทดสอบที (T-test) และสถิติความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ผลวิจัยพบว่า 1) การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับได้ดังนี้ สูงสุด ด้านการทำงานร่วมกัน รองลงมา ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล รองลงมา ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน รองลงมา ด้านสภาพการทำงาน รองลงมา ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน และต่ำสุด ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม 2) จากผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
The purposes of this research were 1) to study on Quality of Teachers’ Work Life under Chiang Rai Primary Educational Service Area 4 2) to compare the quality of working life of government teacher under the office Chiang Rai Primary Educational Service Area, Region 4 Classified by gender, age, level of education and work experience. The sample group was civil servants, teachers. Under the office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4, the sample group was determined according to the formula of Taro Yamane (Yamane, 1973) to obtain a sample group at the confidence level of 95 percent, totaling 294 people. The samples were randomly selected using a stratified random method. The tools used to collect data were questionnaires, estimators using statistics, including frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. precision alpha coefficient, LSD statistic, Scheff' statistic, T-test and One-way variance statistic (F-test). The results of the research revealed that 1) the study of the quality of working life of government teachers under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4, overall and each aspect, was at a high level, ranked as follows: highest; Followed by the development of personal abilities. Followed by stability and progress in work. followed by working conditions Followed by work-life balance. and the lowest in terms of appropriate compensation. 2) From the comparison of the quality of working life of government teachers under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4 classified by sex age and work experience, it was found that overall were not different. From the comparison of the quality of work life of government teachers under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4, classified by education level. It was found that the overall picture was significantly different at the 0.05 level.
Keywords
คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู, Quality of Teachers’ Work Life