ความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผี: กรณีศึกษา ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
Loading...
Date
2016
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเชื่อและองค์ประกอบขั้นตอนของพิธีกรรมเลี้ยงผี ที่ตำบลสะเอียบ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ตลอดจนวิเคราะห์อิทธิพลของพิธีกรรมเลี้ยงผีดังกล่าวที่มีต่อชุมชนสะเอียบ โดยได้ศึกษาด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา กล่าวคือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่เพื่อสังเกตพิธีกรรม ตลอดจนสัมภาษณ์วิทยากรที่ตรงกับคุณสมบัติที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนสะเอียบนับถือพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน โดยชาวบ้านยังมีความเชื่อในการนับถือผี และสะท้อนความเชื่อออกมาในรูปแบบพิธีกรรมเรียกว่า พิธีกรรมเลี้ยงผี ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เพื่อแบ่งโครงสร้างและหน้าที่ของผีในตำบลสะเอียบเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผีอารักษ์พื้นที่สำคัญในหมู่บ้านกับกลุ่มผีอารักษ์พื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน นอกจากนี้ยังพบว่า ผีอารักษ์นอกจากจะทำหน้าที่เป็นดูแลรักษาบ้านเมือง ป่า และพื้นที่ทำกินแล้ว ผีอารักษ์ยังมีหน้าที่เป็นผีบรรพบุรุษของชาวบ้านมีหน้าที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆ ผ่านการบนผี โดยชาวบ้านจะมีการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีขึ้นในทุก ๆ ปี ผู้วิจัยพบ ความเชื่อเกี่ยวกับผี จำนวน 6 ความเชื่อ และพิธีกรรมเลี้ยงผี จำนวน 10 พิธีกรรม แบ่งเป็นพิธีกรรมตามกาลเวลา 8 พิธีกรรม ชาวบ้านจะจัดพิธีกรรมเลี้ยงผีในช่วงก่อนฤดูเพาะปลูกและหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ปางเก้าปางสาม และพิธีกรรมตามโอกาสพิเศษ 2 พิธีกรรม คือ พิธีกรรมหงายเมือง และพิธีกรรมบนผี แก้บนผี ถึงแม้ว่าพิธีกรรมเลี้ยงผีที่ตำบลสะเอียบจะมีลำดับขั้น และองค์ประกอบตอนที่แตกต่างกัน แต่ผู้วิจัยยังพบจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ พิธีกรรมนั้นล้วนเกิดขึ้นจากความเชื่อ จากการวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ พบว่า พิธีกรรมเลี้ยงผีมีหน้าที่สำคัญต่อชาวบ้านชุมชนสะเอียบ ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจในการดำรงชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
Description
This research is a folkloristic study with the objective to collect the beliefs and ceremonies about ghost worshipping. It emphasizes the composition of ghost worshipping ceremony as well as its impact on the villagers at Sa-iap Sub-district, Song District, Phrae Province. In this research, the researcher focuses on collecting data about beliefs and ceremonies about ghost worshipping and taking on field study to observe the ceremony, interview the experts who pass the researcher’s predetermined criteria. Data are then analyzed based on the structural-functional theory. The results are presented in descriptive analysis. The research reveals that Sa-iap people believe in folkway Buddhism (not pure Buddhism). They also still believe in ghosts and reflect that belief by means of performing the “ghost worshipping” ceremony. The researcher divides the structure and function of ghost in Sa-iap Sub-district into 2 major groups: spirits guarding important areas in the village and those guarding forest and farmland. In addition, it was also found that the guardian spirits does not only protect the village, forest, and farmland, they also function as the spirits of ancestors. The function of ancestors’ spirits is reflected in ghost worshipping ceremony. According to the data, the villagers perform these ceremonies every year. Of the 6 believe in ghosts and 10 ceremonies performed annually, 8 have fixed schedule. For example, there will be ghost worship before the farming season and after harvesting called “Pang Kao Pang Sam”. There are 2 ceremonies performed on special occasions: Ngai Mueang ceremony and vowing/redeeming vows to the ghosts. Despite the differences in orders and compositions, there are also similarities in that the ceremonies are based on the belief. According to the structural-functional analysis, the ghost worshipping ceremony plays an important role for the community in that it makes them feel secure to live their daily life and live with other members of the society in harmony.
Keywords
ความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผี, Ghost Worshipping Belief and Ceremony