ภาพแทนนักโทษผ่านสารคดีไทยในรอบ 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2559)
Loading...
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความเป็นนักโทษผ่านภาษา และศึกษาภาพแทนนักโทษที่ปรากฏในงานเขียนสารคดีไทยในรอบ 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2559) ด้วยกรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis–CDA) ของแฟร์เคลาฟ์ (Fairclough) และกรอบแนวคิดเรื่องภาพแทนของสจ๊วต ฮอลล์ (Hall) โดยศึกษาข้อมูลจากงานเขียนสารคดีไทยในช่วง พ.ศ. 2540-2559 จากนักเขียนจำนวนสามกลุ่ม คือ กลุ่มนักเขียนสารคดี กลุ่มนักเขียนที่เป็นนักโทษหรือเคยเป็นนักโทษ และกลุ่มนักเขียนที่เป็นผู้คุมเรือนจำ ผลการศึกษาพบว่า นักเขียนทั้งสามกลุ่มประกอบสร้างความเป็นนักโทษผ่านกลวิธีทางภาษา จำนวน 11 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการใช้คำศัพท์หรือวลี กลวิธีการใช้ประโยคแสดงเหตุผล กลวิธีการใช้มูลบท กลวิธีการใช้ความเปรียบ กลวิธีการใช้สหบท กลวิธีการใช้คำแสดงทัศนภาวะ กลวิธีการอ้างถึงส่วนใหญ่ กลวิธีการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีการซ้ำประโยค กลวิธีการใช้โครงสร้างประโยคแสดงความสัมพันธ์ และกลวิธีการใช้เรื่องเล่า การประกอบสร้างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของนักโทษได้ถูกตีความและนำเสนอแตกต่างกันออกไปตามมุมมองของนักเขียนแต่ละคน ส่วนผลการศึกษาด้านภาพแทนพบว่า นักเขียนทั้งสามกลุ่มสร้างภาพแทนให้แก่นักโทษ จำนวน 6 ลักษณะ คือ ภาพแทนบุคคลอันตราย ภาพแทนนักโทษที่มีความผิดปกติทางจิต ภาพแทนบุคคลที่สังคมไม่ต้องการ ภาพแทนบุคคลที่น่าเวทนา ภาพแทนนักโทษในคราบผู้บริสุทธิ์ที่โชคร้าย และภาพแทนนักโทษที่พร้อมจะกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ซึ่งภาพแทนดังกล่าวนำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ให้กับนักโทษในที่สุด
Description
This research aims to study the construction of prisoners through language and to study the representation of prisoners appeared in Thai documentary writings in the past two decades (1997-2016). The present study adopted Fairclough's Critical Discourse Analysis (CDA) and Stuart Hall's representation as a conceptual framework. The data for the analysis was from Thai documentary writings from 1997-2016, from three groups of writers: a group of documentary writers, a group of writers who are prisoners or former prisoners, and a group of writers who are prison guards. The results showed that the three groups of writers created prisoners through 11 linguistic devices: lexical and phrasal selection, reasoning, presupposition, metaphor, intertextuality, modality, reference, rhetorical questions, reduplication, syntax, and narrative. This construction shows that the image of prisoners has been interpreted and presented differently according to the perspective of each writer. As for the results of the representation, the three groups of writers created six representations of characteristics for prisoners: a dangerous person, people with mental disorders, a person that society does not want, a pitiable person, an innocent, an unfortunate, and a person who mends his ways of being a good person of society. This representation eventually leads to the creation of an identity for the prisoners.
Keywords
ภาพแทน, นักโทษ, สารคดีไทย, Representation, Prisoner, Thai Documentary
Citation
อธิพงษ์ เพ็ชรเกิด. (2564). ภาพแทนนักโทษผ่านสารคดีไทยในรอบ 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2559). [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).