แนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเรื่อง แนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นบ้าน จังหวัดพะเยา 3) เพื่อเสนอแนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านในจังหวัดพะเยามีทั้งหมด 8 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทยวนอาหารที่นิยม คือ แกงแคไก่ใส่ข้าวคั่ว ไทลื้ออาหารที่นิยม คือ จิ้นซ่ำพริก ไทจีนอาหารที่นิยม คือ ผัดหมี่ ไทเมี่ยนอาหารที่นิยม คือ ต้มฟักไก่ ไทใหญ่อาหารที่นิยม คือ ข้าวส้ม ไทม้งอาหารที่นิยม คือ ต้มไก่ดำสมุนไพร ไทลาว (หลวงพระบาง) อาหารที่นิยม คือ แกงขนุน และไทอีสาน (ภูไท) อาหารที่นิยม คือ ซั่วไก่ ซึ่งภูมิปัญญาด้านอาหารส่วนใหญ่มีความเป็นเอกลักษณ์ และยังคงสะท้อนให้เห็นจากการดำรงชีวิตของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้แนวทางการอนุรักษ์ของแต่ละพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสืบทอดให้กับคนในครอบครัว และยังคงนำอาหารพื้นบ้านมารับประทานชีวิตประจำวันจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการนำอาหารพื้นบ้านมาใช้ในเทศกาลประเพณีสำคัญ และบริการให้แก่นักท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนด้วย ในส่วนการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นบ้าน พบว่า อาหารที่นักท่องเที่ยวอยากรับประทานเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ผัดหมี่ 2) ต้มฟักไก่ 3) แกงไก่ใส่ข้าวคั่ว 4) ซั่วไก่ 5) จิ้นซ่ำพริก 6) ต้มไก่ดำสมุนไพร 7) ข้าวส้ม 8) แกงขนุนใส่หมู หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูล คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ด้านเนื้อหานักท่องเที่ยวต้องการที่จะทราบมากที่สุด คือ รสชาติของอาหาร ส่วนช่องทางในการสื่อสารนักท่องเที่ยวต้องการให้สื่อสารผ่านทาง เว็ปไซต์ และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ และกลุ่มเป้าหมายในการรับสื่อ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย และกลุ่มสื่อมวลชน อีกทั้งกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่พัก และร้านจำหน่ายของที่ระลึกในจังหวัดพะเยา ในส่วนของแนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา พบว่า ต้องใช้การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการโฆษณาผ่านช่องทางเว็บไซต์ รวมถึง Application social media ต่าง ๆ และการจัดป้ายสื่อความหมายเส้นทางท่องเที่ยวอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด และการจัดกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การออกบูธ การแสดงสาธิตทำอาหาร โดยให้ผู้เข้าชมได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ตามเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงและเป็นที่รับรู้แก่นักท่องเที่ยว
Description
Marketing Communication Guideline to Promote Local Food for Tourism Phayao Province Thailand Its objectives consisted of 1) to study the wisdom regarding native food in Phayao Province; 2) to study the tourists’ perception towards native food in Phayao Province; and 3) to present guidelines on the native food marketing communication for tourism in Phayao Province. The research found that there were 8 ethnic groups of wisdom regarding native food marketing communication in Phayao Province, which were: Thai Yuan; its popular dish was chicken and mixed vegetable curry with northern spices with roasted ground rice, Thai Lue; its popular dish was beef chili dip, Thai Chin; its popular dish was stir-fried noodles, Thai Mian; its popular dish was wax gourd soup with chicken, Thai Yai; its popular dish was Khao Som, Thai Mong; its popular dish was black chicken soup with herbs, Thai Lao (Luang Phra Bang); its popular dish was jackfruit curry; and Thai I-San (Phu Thai); its popular dish was chicken soup with ginger. Most wisdoms regarding food were unique and also reflected the living of each ethnic group. As a result, most guidelines on preservation of each area place an importance in the inheritance to family member. The Local food was eaten in the daily life until now. Local food was also used in the important festivals and provide to tourists in each community. According to the tourists’ perception towards native food, the food that tourists would like to have in descending order were 1) Stir-fried noodles; 2) Wax gourd soup with chicken; 3) Chicken curry with roasted ground rice; 4) Chicken soup; 5) Beef chili dip; 6) Black chicken soup with herbs; 7) Khao Som; and 8) Jackfruit curry with pork. The division who plays the important role in providing the information was Phayao Culture Center. The content that the tourists would like to be informed of the most was the taste of food. The communication channels that the tourists wanted were websites and applications. The target groups of the media exposure were Thai tourists and mass media, as well as entrepreneurs in restaurants, accommodation, and souvenir shops in Phayao Province. Regarding the guidelines on native food marketing communication for tourism in Phayao Province, it was found that promotion was needed to communicate with the target groups by providing the advertisement through websites as well as applications, social media, display boards to convey about the native food tourism routes of the ethnic groups at the important tourist attractions of the province, and activities from both government and private divisions, such as exhibition booth and cooking demonstration. The audiences were allowed to participate in the activities according to the festival in order to provide access and recognition to the tourists.
Keywords
การสื่อสารทางการตลาด, อาหารพื้นบ้าน, Marketing communication, Local Food