กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อม และแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 320 คน การสนทนากลุ่มกับนักทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 33 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 2) การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยยกร่างกลยุทธ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดแข็ง คือ ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองแก่บุคลากร จุดอ่อน คือ ระบบบริหารตำแหน่งล่าช้า โอกาส คือ มีอิสระในการบริหารงานและบุคลากรสายวิชาการมีความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง และภาวะคุกคาม คือ การปรับเปลี่ยนระเบียบและกฎหมายทำให้บริหารงานล่าช้า ส่วนแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะ การธำรงรักษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก และ 14 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคล่องตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ 2) เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 4) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 5) พัฒนาระบบการธำรงรักษาบุคลากร มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Description
The purposes of this research were to construct a proactive strategies for human resource management of nursing colleges under the Praboromarajchanok Institute. There were three steps. The initial one was exploring the current condition in proactive human resource management. Three hundred and twenty-two nursing instructors and administrators were asked to the answer questionnaires. The environment context was analyzed by thirty- three human resources. Also, eight executives and experts were interviewed about the human resource management guideline. The planning of a proactive strategies was in the second step. And then, a focus group discussion was organized among nine experts to provide suggestions and confirm the suitability of strategies. The final step was to evaluate the strategies by sixty administrators using the research questionnaires. The results showed that the current state of proactive human resource management had average score at a high level. The SWOT analysis indicated that the strength were encouraging instructors to higher education and supporting budgets for personnel development. The weakness is delay in the position management system, while the opportunity is independence in personnel management and the threat is delayed administration after changing the laws. The guidelines for proactive human resource management consist of five parts including human resource management, developing skills and competencies, human resource retention, using technology and reinforcement the efficiency in human resource management. The strategy composes of five main strategies and 14 sub-strategies; strategy 1) Developing human resource management systems to be flexible for changes and crises. Strategy 2) Reinforcing potential and developing personnel competency. Strategy 3) Developing the system of information and technology to effective human resource management. Strategy 4) enhancing the efficiency of human resource management. Strategy 5) Developing the system for maintaining human resource. The appropriateness of strategy was at high level. Finally, the result after evaluating the strategies revealed that the feasibility was at high level and the utility was the highest.
Keywords
กลยุทธ์, ทรัพยากรมนุษย์, เชิงรุก, Strategies, Human Resource, Proactive
Citation
ณัฐติพร อ้นด้วง. (2565). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).