ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลจุน
Loading...
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาแบบ Case-control study นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุน จังหวัดพะเยากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่คุมระดับน้ำตาลได้ 110 คน และคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 330 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ด้าน คือ ข้อมูลทั่วไปความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติความร่วมมือในการใช้ยา และการรับรู้อุปสรรคของการควบคุมระดับน้ำตาลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไควสแควร์และการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคุมระดับน้ำตาลได้ดี คือ เพศ (P = 0.09) ดัชนีมวลกาย (P = 0.036) การมีผู้ดูแล (P = 0.043) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P < 0.001) และการรับรู้อุปสรรคของแรงสนับสนุนจากครอบครัว (P = 0.005) เมื่อทดสอบ สถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพสูง (adjOR = 9.368, p < 0.001) และเพศชาย (adjOR = 1.954, p = 0.004) มีอิทธิพลกับการคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาควรเพิ่มทักษะการเข้าถึงข้อมูล ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกต้องอย่างแพร่หลาย โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการตัดสินใจในการเลือกวิธีปฏิบัติ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย
Description
This Case-control study aimed to study factors related to HbA1c among diabetes patients in Chun hospital.The sample of 440 diabetes patients were 110 of those who controlled HbA1C level and 330 of those who cannot control. Data was collected by questionnaire including 5 parts, i.e., general information, health literacy, behavior of diabetes patients, medication adherence and perception of difficulty to control HbA1c. Data was analyzed by descriptive statistic, such as, frequency, percentage, mean, standard deviation and determined relation by Chi- square test and logistic regression. The results found factors related to good HbA1c control were gender (P = 0.09), body mass index (P = 0.036), having caregivers (P = 0.043), health literacy (P < 0.001) and perception to the difficulty from family support to control HbA1c (P = 0.005). However, logistic regression analysis revealed that high health literacy (adjOR = 9.368, p < 0.001) and male (adjOR = 1.954, p = 0.004) had high influence on HbA1c control at confidence level of 95%. Recommendation from the study suggests that health information accessibility of diabetic patient should be enhance to be more accessible and accuracy by medical professionals and village health volunteers (VHV) for facilitate the patients to choose the best way to control their sugar blood level.
Keywords
ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ปัจจัยที่มีผล, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, HbA1c, Factor, Diabetes patients, Glycemic control