ผลการใช้หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และความมั่นใจในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2024
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการใช้หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน การกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตร และเปรียบเทียบระดับความรู้และความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุน ผู้ปฏิบัติงานด้านบุคลากร จำนวน 24 คน ที่ครอบคลุมด้วยเนื้อหาที่สำคัญในการบรรยายและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ (1) การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีกดหน้าอก (3) การใช้อุปกรณ์ฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (4) การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และ (5) การจัดท่าพักฟื้นผู้เจ็บป่วยทั่วไป ซึ่งใช้เวลาในการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและนำเข้าสู่โปรแกรม SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ผลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการนำเสนอผลการ ศึกษา พบว่า หลังจากการใช้หลักสูตร ( = 17.42, SD = 1.38) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้หลักสูตร ( = 14.54, SD = 2.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.000) และมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจเท่ากับ 3.97 มีระดับความมั่นใจมากขึ้นกว่าก่อนการใช้หลักสูตร (2.62) ซึ่งมีระดับความมั่นใจน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนะว่า เป็นโครงการอบรมในหัวข้อที่เป็นประโยชน์มาก เห็นควรเสนอมหาวิทยาลัยรับจัดอบรมให้บุคลากรและนิสิตทุกส่วนงาน
Description
This research is a quasi-experimental quantitative study of a single group with pretest – posttest design on the use of the emergency first aid course, basic life support, and automated external defibrillation to study the effects of the course and compare the levels of knowledge and confidence of the sample group. The sample consists of 24 support staff from the University of Phayao, who perform personnel duties. The course content covers important aspects of lectures and practical training on (1) Emergency Medical Services (EMS), (2) Cardiopulmonary Resuscitation (CPR), (3) Automated External Defibrillator (AED) use, (4) Assisting patients with airway obstructions (Choking), and (5) the Recovery Position for general patients. The training duration is 3 hours, using a questionnaire validated by experts as the data collection tool. The data was analyzed using SPSS, employing descriptive statistics such as frequency distribution, percentage, average, and standard deviation for presenting the study results. The findings indicate that after the course (mean = 17.42, SD = 1.38), the sample group's average knowledge and understanding scores significantly increased compared to before the course (mean = 14.54, SD = 2.18) (p < 0.000). The average confidence score was 3.97, showing a significant increase in confidence compared to before the course (2.62, p < 0.001). The sample group suggested that This is a very beneficial training program. It is recommended that the university should arrange this training for staff and students in all departments.
Keywords
การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน, การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน, การฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ, Emergency First Aid, Basic Life Support, Automated External Defibrillation
Citation
กฤษณะ วิรัตน์เกษม. (2567). ผลการใช้หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และความมั่นใจในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา. [งานวิจัย, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).