วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students) by Title
Now showing 1 - 20 of 659
Results Per Page
Sort Options
- Itemกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจสำหรับวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง: กรณีศึกษาเครื่องหมายการค้า(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชินพงศ์ มณีรัตน์ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ยังมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดำเนินการประเมินมูลค่า และการดำเนินการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทางปัญญา บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะเครื่องหมายการค้า และสร้างหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าและการบังคับชำระหนี้จากเครื่องหมายการค้า จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายหลักประกันการชำระหนี้ และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาของสาธารณรัฐเกาหลี พบว่า จำต้องใช้วิธีการประยุกต์เพื่อให้ได้มาซึ่งมูลค่าที่แท้จริงของเครื่องหมายการค้า และกฎหมายหลักประกันการชำระหนี้ และการดำเนินการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทางปัญญาตาม Uniform Commercial Code Article 9 ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีการเปิดกว้างของบทบัญญัติในการให้คู่สัญญาเลือกวิธีการบังคับชำระหนี้ได้ โดยเฉพาะส่วนทรัพย์สินทางปัญญา จากการศึกษาพบว่า การประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้าควรใช้การประเมินมูลค่าจากกระบวนการเปรียบเทียบ จากราคาตลาดประกอบกับวิธีการประเมินด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงตามท้องตลาดของเครื่องหมายการค้า ในส่วนการบังคับชำระหนี้เครื่องหมายการค้าใช้รูปแบบที่คู่สัญญาในหลักประกันสามารถเลือกวิธีการบังคับชำระหนี้ได้ โดยการประมูลการขายทอดตลาดทั้งหมดหรือบางส่วนของผลิตภัณฑ์ในเครื่องหมายการค้าก็ได้
- Itemกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) รัฐศาสตร์ สันติโชคไพบูลย์การศึกษาเรื่อง กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือในพื้นที่ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาผลของการนำนโยบายสาธารณะที่ได้จากกระบวนการแบบปรึกษาหารือ ไปปฏิบัติ ในปี พ.ศ. 2560 - 2562 ของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวม 45 คน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรในชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และข้าราชการประจำท้องถิ่น เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการพรรณนา ซึ่งนำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์ โดยการนำแนวคิดกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การมีส่วนร่วมในเวทีกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ โดยมากเป็นการจัดการ การประชุมเพื่อรับฟังปัญหาความต้องการของประชาชน และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวที แต่ละบุคคลมีบทบาท หน้าที่ แตกต่างกันตามองค์กรที่ตนเองสังกัด โดยไม่มีข้อจำกัด ในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ เพื่อนำปัญหาที่ได้ ไปจัดทำเป็นนโยบายของเทศบาลต่อไป และผลวิจัย ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ถูกกำหนดขึ้น เมื่อออกแบบเป็นกิจกรรมหรือโครงการขึ้นมา แล้วนำไปปฏิบัติ จะสามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ในระดับที่น่าพอใจ เพราะเป็นการนำเสนอปัญหาและความต้องการที่มาจากผู้แทนของประชาชนเข้าร่วมการนำเสนอบนพื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะจากผู้ให้ข้อมูลหลัก เห็นว่ากระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย เกิดจากการนำเสนอปัญหาและตอบสนองความต้องการในพัฒนาด้านต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น แต่เมื่อปรับเปลี่ยนไปเป็นโครงการขึ้นมาแล้ว ไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมดตามที่ได้เสนอไว้ เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด จึงได้เสนอแนะเพิ่มเติมว่า เมื่อกำหนดนโยบายขึ้นมาแล้ว ควรได้รับการดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม หากเทศบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสรรหางบประมาณจากหน่วยงานอื่นมาสมทบ และเน้นว่าควรให้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังปัญหาหรือความต้องการของประชาชนให้ต่อเนื่อง และอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เข้าร่วมเวทีด้วย เพื่อช่วยเสนอแนะความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุม จะได้เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ครบทุกด้าน
- Itemกระบวนทัศน์นิเวศวิถีของวรรณกรรมเรื่องสั้นและนวนิยายไทยร่วมสมัยในรอบทศวรรษ พุทธศักราช 2551-2560(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กานต์รวี แพทย์พิทักษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดนิเวศวิถี และกลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถีของวรรณกรรมเรื่องสั้น และนวนิยายไทยร่วมสมัยในรอบทศวรรษ พุทธศักราช 2551-2560 โดยใช้ตัวบทเรื่องสั้นและนวนิยาย ที่ตีพิมพ์ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2551-2560 จำนวน 126 เรื่อง มาใช้ในการวิจัย โดยใช้แนวคิดความรู้ในตัวบท ซึ่งได้จากการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแนวคิดความรู้นอกตัวบท และแนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แนวคิดนิเวศวิถี พบว่า ผู้แต่งมีการนำเสนอแนวคิด และกลวิธีการนำเสนอที่มีความสอดคล้องกับเรื่องราว และชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศวิทยา มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านโครงเรื่องชีวิตความขัดแย้งและปมปัญหา ใช้มุมมองการเล่าเรื่องแบบผสมผสาน เรื่องสั้นและนวนิยายมีทั้งความสมจริง และจินตนาการของฉากและบทสนทนา โดยมีกลวิธีนำเสนอทั้งที่มีเอกลักษณ์และคล้ายคลึงกัน แนวคิดนิเวศวิถี มี 6 แนวคิด 1) แนวคิดเกี่ยวกับวิถีธรรมชาติ 2) แนวคิดเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของชีวิตและสรรพสิ่ง 3) แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเชื่อ 4) แนวคิดเกี่ยวกับวิกฤติปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 5) แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และ 6) แนวคิดเกี่ยวกับนิเวศพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แนวคิดนิเวศวิถีทั้ง 6 แนวคิด เป็นความสำคัญของผู้แต่งที่ใช้ในการนำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างจิตสำนึก และช่วยกระตุ้นเตือนผู้อ่านได้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ ที่จะช่วยธำรงรักษาระบบนิเวศของผืนโลกให้มีความสมบูรณ์สืบไป กลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถี มี 4 กลวิธี 1) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยการเล่าเรื่อง 2) กลวิธีการนำเสนอโดยผ่านโครงเรื่อง 3) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยผ่านตัวละคร และ 4) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยผ่านฉาก กลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถีทั้ง 4 กลวิธี เป็นกลวิธีที่ผู้แต่งเลือกกระบวนคิดวิเคราะห์ และเลือกสรรการใช้กลวิธีตามแนวทางต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดของผู้แต่งสู่ผู้อ่านด้วยวิธีที่แยบยล โดยสอดแทรกให้ผู้อ่านซึมซับ เข้าใจ ตระหนักรู้ในความจริงแห่งนิเวศวิถี คุณค่าของสรรพสิ่งเป็นวิถีทางที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวทางในการรักษา ฟื้นฟูระบบนิเวศ ในการที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกับสรรพสิ่งในโลกได้อย่างสันติสุข
- Itemกฤษณา อโศกสิน-ทมยันตี: อัตลักษณ์การประพันธ์นวนิยายร่วมสมัยเชิงประชัน เรื่อง เมียหลวง-เมียน้อย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ผกาเพ็ญ จรูญแสงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลตัวบทนวนิยาย “เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน และนวนิยาย “เมียน้อย” ของทมยันตี ในด้านกลวิธีการประกอบสร้างตัวบท และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรู้ในตัวบท และแนวคิดความรู้นอกตัวบท คือ แนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมประเภทนวนิยาย และแนวคิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทนวนิยายกับบริบทสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประการ ดังนี้ 1) กลวิธีการประกอบสร้างตัวบทนวนิยายเรื่องเมียหลวง-เมียน้อย ด้านแก่นเรื่อง สะท้อนปัญหาสังคมครอบครัวเนื่องจากกิเลสตัณหาของสามีที่มีเมียน้อยในที่สุดคุณธรรมความดีช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โครงเรื่องของนวนิยายคล้ายกันในภาพรวม ต่างกันในรายละเอียด โดยเรื่องเมียหลวง สามีมีเมียน้อย แต่ภรรยาซึ่งเป็นเมียหลวงใช้ปัญญาและคุณธรรมความดีแก้ปัญหา เมื่อปมปัญหาคลี่คลาย สามีเลิกเจ้าชู้ ไม่มีเมียน้อยอีก ในขณะเรื่องเมียน้อย ผูกปมให้ตัวละครเอกเป็นเมียน้อยด้วยความจำเป็นในชีวิตและครอบครัว แต่เป็นเมียน้อยมีปัญญาและยึดมั่นในความดี เมื่อปมปัญหาคลี่คลายจึงพ้นจากความเป็นเมียน้อย พบรักกับผู้ชายคนใหม่ แล้วก้าวสู่ความเป็นเมียหลวง ตัวละครเอกในนวนิยายทั้งสองเรื่อง แม้จะต่างกันด้วยบริบทชีวิตและสังคม แต่ตัวละครต่างใช้ปัญญาและคุณธรรมแก้ปัญหาชีวิต เรื่องเมียหลวงกับเรื่องเมียน้อยใช้บทสนทนาดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวา รู้จักตัวละคร และมีวิธีการไม่ซ้ำซาก เป็นธรรมชาติและสมจริง ในด้านฉากช่วยให้ชวนติดตาม ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใด เมื่อใด ช่วยสื่อความคิดของผู้ประพันธ์ ด้านการใช้ภาษาในภาพรวม ผู้ประพันธ์ใช้คำและสำนวนภาษา ประโยค โวหาร ภาพพจน์ และลีลาภาษาเรียบง่าย สื่อความหมายกระจ่างชัด มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม ในด้านวิถีของความเป็นเมียหลวงและเมียน้อย ในด้านบทบาทต่อตนเองมี 4 ด้าน คือ ด้านชาติกำเนิด ด้านการได้รับการอบรมจากครอบครัว และด้านการศึกษา บทบาทดังกล่าวแม้มีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ด้านบทบาทต่อผู้อื่น ตัวละครเมียหลวงมีบทบาทต่อครอบครัวของตนในฐานะแม่และเมีย ส่วนตัวละครเมียน้อยมีบทบาทต่อครอบครัวที่ตนเองเป็นลูกซึ่งมีพ่อกับแม่และเป็นพี่ซึ่งมีน้องชาย การเป็นเมียหลวงและเมียน้อยในนวนิยายทั้งสองเรื่อง ส่งผลลัพธ์สามมิติ คือ ผลลัพธ์ต่อคู่ครอง ผลลัพธ์ต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล และผลลัพธ์ต่อสังคม ด้านการดำรงอยู่ของเมียหลวงและเมียน้อยนั้น สำหรับเมียหลวงนั้น ช่วงแรกเป็นเมียหลวงที่สมบูรณ์ ต่อมาอยู่ในสถานะหย่าร้างแต่ยังเป็นเมียหลวงโดยพฤตินัย แล้วกลับคืนสู่สถานะเมียหลวงที่สมบูรณ์อีกครั้ง ส่วนการเป็นเมียน้อย ช่วงแรกเป็นเมียน้อยที่งดงามในความเป็นเมีย แล้วในที่สุดเปลี่ยนสภาพเป็นเมียหลวง
- Itemกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัฐติพร อ้นด้วงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อม และแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 320 คน การสนทนากลุ่มกับนักทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 33 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 2) การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยยกร่างกลยุทธ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดแข็ง คือ ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองแก่บุคลากร จุดอ่อน คือ ระบบบริหารตำแหน่งล่าช้า โอกาส คือ มีอิสระในการบริหารงานและบุคลากรสายวิชาการมีความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง และภาวะคุกคาม คือ การปรับเปลี่ยนระเบียบและกฎหมายทำให้บริหารงานล่าช้า ส่วนแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะ การธำรงรักษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก และ 14 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคล่องตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ 2) เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 4) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 5) พัฒนาระบบการธำรงรักษาบุคลากร มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
- Itemกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) พรทิพย์ รุ่งเรืองงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคของการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผจญภัยในความต้องการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 4) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์เพื่อพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และนักวิชาการจำนวนรวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา และการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามปลายเปิด เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว หรือเข้าร่วมกิจกรรมผจญภัย จังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลด้วยสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติทดสอบ One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่วิธี Scheffe นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก ได้แก่ ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง และปัญหาการจราจร เพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวมักก่อความไม่สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว อุปสรรค คือ ขาดการทำงานแบบบูรณาการขาดเป้าหมายทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน 2) ศักยภาพท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในด้านสิ่งดึงดูดใจ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ศักยภาพด้านที่พัก ด้านการเข้าถึง และด้านกิจกรรมควรปรับปรุง 3) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความแตกต่างต่อระดับความต้องการการบริการการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงกีฬาจังหวัดนครนายก ในด้านอายุ และระดับการศึกษา ส่วนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างต่อความต้องการการบริการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในรูปแบบโมเดล A3 P" Paradigm ได้แก่ การเข้าถึง (Accessibility) กิจกรรม (Activity) ความคาดหวัง (Anticipation) พัฒนาธุรกิจที่พักแรม (Place) บุคลากรด้านการบริการ (People) พัฒนาการทำงาน (Policy) พัฒนาโครงสร้างแผนงานชัดเจนเป็นระบบ (Plan) พัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์ (Promotion) พัฒนาการทำงานโดยให้บทบาทสำคัญกับทุกฝ่าย (Participation) ส่งเสริมให้มีสนามฝึกซ้อมกิจกรรมกีฬาเชิงผจญภัย (Practice field)
- Itemกลยุทธ์การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ธนพัฒน์ วุฒิสารวัฒนาIn the new globalization era, the requirements for internationalization have been driven in different higher educational institutions in order to update academic advancements, as well as to promote intercultural understandings and sustainable human developments. In other words, a variety of internationalizing methods including student and staff exchange, duo study programs, branch campuses, and distance learning can be implicated in all universities. Based on the mixed method, the major purposes of the study aimed to identify intercultural communication strategies used by Chinese students when interacting with Thais in a long-term Thai public university, as well as to investigate the Chinese students' self-adaptation when encountering with their intercultural communication problems in a long-term Thai public university. For research methodology, using interview and questionnaire as a tool, 30 four-year Chinese students majoring in English Studies Program at the Faculty of Humanities, Chiang Rai Rajabhat University in the MOU with Pu'er Teachers' College, Pu'er in Yunnan province of China were selected. The findings of the study revealed that all the aspects of the Chinese students' intercultural communication strategies, with its mean of 2.08 and its standard deviation (x̄) of 0.85, were sometimes used when interacting with Thais in a public Thai university as compared to each aspect, it showed that asking for repetition on the unclear pronunciation or unfamiliar expressions (x̄ = 2.38, S.D. = 1.01) were frequently used, followed by avoiding talking about sensitive issues (x̄ = 2.14, S.D. = 0.91) and using your own language to facilitate the communication (x̄ = 2.14, S.D. = 0.93)., and using the partner's mother tongue to facilitate the communication (x̄ = 2.10, S.D. = 0.93)
- Itemกลยุทธ์วาทศิลป์และการโน้มน้าวทางการเมือง: การวิเคราะห์คำเชื่อมความของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในการปราศรัยช่วงก่อนเลือกตั้งปี 2566 ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ไกรวิชญ์ ชินายศThe objectives of this independent study were: 1) to investigate the types of discourse markers (DMs) utilized in Pita Limcharoenrat 2) to analyze the frequencies of discourse markers used, and 3) to explore the intended meanings in four pre-election speeches. Purposive sampling was chosen for the analysis base on 21 types of discourse markers, theoretical framework of Swan (2005). The findings of the study were displayed as follows; 1) 14 of 21 types of discourse markers were utilized by Pita Limcharoenrat's speeches of four election campaigns. 2) The study founded DMs were less employed in shorter speeches than the longer. DMs Concession and Counter Argument had the highest frequency, appearing 19 times, followed by Adding and Logical Consequence which appeared 16 and 14 times, respectively. On the other hand, some categories of DMs, including Similarity, Contradicting, Generalizing, Giving Examples and Persuading were not utilized. 3) The intended meaning of discourse markers was employed to range the structure of contents, contrast and emphasize the ideas, and concede and counter-arguing classified by Swan (2005)
- Itemกลวิธีการประกอบสร้างและแนวคิดการครองคู่ของตัวละครในนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สุชัญญา วงค์เวสช์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสในประเด็น กลวิธีการประกอบสร้าง และแนวคิดการครองคู่ของตัวละคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส จำนวน 15 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดองค์ประกอบของการสร้างนวนิยาย การวิเคราะห์ตัวละครและแนวคิดความสัมพันธ์ในการครองคู่ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีประกอบสร้างของนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสแบ่งตามเพศวิถีของตัวละครเป็น 5 ประเภทความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครเกย์กับเกย์ 2 ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครไบเซ็กชวลกับเกย์ 3) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครชายกับชาย 4) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครเกย์กับชาย และ 5) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครหญิงกับหญิง ประเด็นแนวคิดการครองคู่ตัวละครในแต่ละประเภทความสัมพันธ์ แบ่งตามขั้นตอนการดำเนินความสัมพันธ์ได้ 3 ขั้น คือ 1) แนวคิดการครองคู่ระยะเริ่มต้น เกิดจากความพึงพอใจรูปลักษณ์ลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกัน พึ่งพาอาศัยได้และมีรสนิยมทางเพศตรงกัน รูปแบบความสัมพันธ์เป็นแบบไม่ผูกมัดและเน้นเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ 2) แนวคิดการครองคู่ระยะเปิดรับความสัมพันธ์ เกิดจากความใกล้ชิด พึงพอใจในรสนิยมและความสบายใจในปฏิสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบเพศรสเสน่หาและความลุ่มหลง และ 3) แนวคิดการครองคู่ระยะสรุปความสัมพันธ์ ปิดเรื่องด้วยความสุขสมหวัง สร้างทางออกในการครองคู่ของตัวละครแบบรักเพศเดียวกัน ด้วยการสร้างครอบครัวที่มีความมั่นคง นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสทั้ง 5 ประเภทความสัมพันธ์มีกลวิธีการประกอบสร้างและแนวคิดการครองคู่เป็นไปตามรูปแบบและองค์ประกอบของการสร้างนวนิยาย โดยเน้นการเล่าถึงรูปแบบความสัมพันธ์และปัญหาของความรักแบบเพศเดียวกัน โครงสร้างในการดำเนินเรื่องของแต่ละประเภทความสัมพันธ์ได้นำบรรทัดฐานรักต่างเพศ ปัญหาเรื่องเพศ ปัญหาทางจิตของตัวละคร ปัญหาสังคมมาเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์เพื่อให้ตัวละครแก้ไขปัญหา และพิสูจน์ว่ารักร่วมเพศหรือความรักในเพศเดียวกันสามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงการสร้างแนวคิดให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องความเป็นปกติในความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียว ผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครบนพื้นฐานของความพึงพอใจ ความเข้าใจและความสบายใจ
- Itemกลวิธีการแปลนิยาย พ่อมดแห่งออซ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พชรกฤต นาระทะThe objectives of this study were to analyze the translation strategies from the English Language to the Thai Language in the Novel 'The Wizard of Oz' by using Baker's taxonomy as a framework to categorize and divide the translations into eight strategies. The findings showed that seven of eight Baker's translation strategies were found in the novel which was translated by cultural substitution, translation by a more general word, translation by a more neutral/less expressive word, translation using a loan word or loan word plus explanation, translation by omission using related words, translation by paraphrasing using related words, and translation by paraphrasing using unrelated words. The frequency of translation strategies used showed that translation by cultural substitution (57.07%) was the mostly found in translation and translation by paraphrasing using unrelated words (0.69%) was the least finding in translation but one of strategy that was not found in translation was translation by illustration
- Itemกลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชุดภาษาไทยเพื่อชีวิตภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) อัญสุรีย์ เทพสุธรรมงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย และเพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฎในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิตภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ด้วยกรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของ นอร์แมน แฟร์คลัฟ (Norman Fiarclough) โดยการนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย พบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดอุดมการณ์ให้แก่เด็ก ประกอบด้วยกลวิธีทางภาษา 7 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการเลือกใช้คำศัพท์ กลวิธีการใช้คำแสดงทัศนภาวะ กลวิธีการอ้างส่วนใหญ่ กลวิธีการใช้ประโยคแสดงเหตุผล กลวิธีการใช้วาทศิลป์ กลวิธีการใช้เสียงที่หลากหลาย และกลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง ส่วนการวิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย พบอุดมกรณ์เด็กดี และอุดมการณ์เด็กไม่ดี กล่าวคือ อุดมการณ์เด็กดี จะมีลักษณะเป็นบุคคลที่พึงประสงค์ โดยมีลักษณะพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ การกระทำในทางที่ดี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความกตัญญูรู้คุณ ด้านความขยันหมั่นเพียรตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ด้านการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านการรู้จักประหยัดอดออม ส่วนอุดมการณ์เด็กไม่ดีเป็นลักษณะของบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ โดยมีลักษณะพฤติกรรมในด้านไม่ดี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมลักขโมย ด้านพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้านพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียน และด้านพฤติกรรมก้าวร้าวไม่เชื่อฟัง
- Itemกลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) พยงค์ มูลวาปีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสานจากบทแสดงหมอลำอีสาน 10 คณะ เช่น คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะเสียงอีสาน และคณะระเบียบวาทศิลป์ จำนวน 20 เรื่อง เช่น อิเหนา กิ่งฟ้า กาหลงคอน เจ้าหญิงแตงอ่อน โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาและกลวิธีการสื่อสารในระดับสัมพันธสาร ผลการวิจัยโดยสรุป มี 2 ประการ การประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ 3 ประการ องค์ประกอบทางเนื้อเรื่องของการสื่ออารมณ์ขัน พบเนื้อหาที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน 3 ตอน คือ ตอนเปิดเรื่อง ระหว่างเสนอเนื้อเรื่อง และตอนจบเรื่อง โดยตอนเปิดเรื่องมี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา การใช้บทเพลง และการแสดงท่าทาง ระหว่างการดำเนินเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ เนื้อหาขัดแย้งกัน และเนื้อหาคล้อยตาม และตอนจบเรื่อง มี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา บทบรรยาย และเพลงกลอนลำ สำหรับการประกอบสร้างวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของระดับในภาษา 3 ระดับ ในระดับมีคำที่ใช้ประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน 7 ลักษณะ คือ คำมูล คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำประสาน คำทับศัพท์ และคำย่อ ในระดับความหมายจะพบคำที่ประกอบสร้างเพื่อสื่ออารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ คำเน้นความหมายสื่อสาระ และคำเน้นความหมายสอดสังคม ส่วนในระดับสัมพันธสาร มีลักษณะของการสื่อสารแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ การเริ่มต้นและการลงท้าย และการแสดงหัวเรื่องและการเปลี่ยนหัวเรื่อง และประการที่สามการประกอบสร้างอวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน พบว่า คณะหมอลำอีสานใช้อวัจนภาษา 7 ลักษณะ คือ เทศภาษา กาลภาษา เนตรภาษา สัมผัสภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา และปริภาษาในการประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน มี 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ภาษาไม่เป็นทางการ การใช้ท่วงทำนองและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน การใช้ภาษาอุทาน มี 10 ลักษณะ เช่น แสดงความน้อยใจ แสดงความดีใจ และแสดงความเสียใจ การใช้ภาษาเฉพาะกิจมี 10 กลวิธี เช่น ภาษาผวน ภาษาหยาบ และภาษาแกล้งผิด การขยายความ มี 4 กลวิธี เช่น การไขความ การให้ตัวอย่าง และการให้เหตุผล การสมมุติมี 3 กลวิธี คือ การสมมุติคนเป็นยาสีฟันและสินค้าอื่น ๆ ทางสื่อมวลชน การตั้งฉายา ตำแหน่งหรือหน้าที่ และสมมุติฟ้าเป็นมุ้ง การอ้างอิง มี 3 กลวิธี คือ การอ้างอิงรายการทางสื่อมวลชน สัตว์มงคลในเทพนิยาย และอ้างอิงภูมิปัญญาไทย และการหักมุม เป็นการจบเรื่องแบบผู้ชมคาดไม่ถึง
- Itemการกลายพันธุ์แบคทีเรียด้วยเทคนิคพลาสมาพลังงานต่ำเพื่อผลิตอาหารหมักในโคนม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) นิติพล พลสาThe aim of this work was to induce three bacterial species, including Bacillus amyloliquefaciens (cellulase-producing bacteria), Bacillus subtilis (xylanase-producing bacteria) and Enterococcus faecium (lactic acid bacteria), by using a low-energy plasma technique. The mutant bacteria were screened by hydrolysis capacity (H.C.) on carboxymethyl cellulose substrate. Then, the investigation of molecular changes, enzyme mechanisms, and fermentation processing from agricultural wastes, such as durian peel, corn cob, pineapple peel, and pineapple cork, was observed. The results showed that lactic acid bacteria, E. faecium, showed a mutant with higher lactic acid activity than control, approximately 12% under argon plasma treatment at 1.5/1.5 min on MRS broth. B. amyloliquefaciens, a cellulase-producing bacteria, was treated by low-energy plasma immersion ion implantation (PIII) to enhance their cellulase activity. According to a protein modeling analysis, replacing K370 with glutamic acid was proposed to form a hydrogen bond to Y436 a shorter distance (2.6 Å) than the control (5.4 Å), which may allow the structure to be more compact and stable, contributing to higher catalytic efficiency. Moreover, xylanase-producing bacteria, B. subtilis, were bombarded by an atmospheric pressure plasma jet (APPJ) and higher catalytic activity was screened. Sequence analysis revealed only a single amino acid substitution from threonine to serine at position 162 (T162S) to be in the glycosyl hydrolase family (GH11). To reduce feed costs, agricultural wastes were an optional choice as raw material to feed under fermentation processing, which required bacteria. The quality of fermented feed after being fermented by mutant bacteria showed that the mutant bacteria produced protein at a higher level than the control, increasing 20– 30%. The pH decreased by 10–20%, indicating the quality of fermentation associated with lactic acid content increased by 10–20%. After that, the dairy cattle were fed for a month. The amount of milk and milk composition (fat, protein, lactose, and ash) were not different from the control, although the feed cost was decreased by 40%.
- Itemการกำจัดสารเมทิลีนบลูด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติกโดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) สุปรีดา หอมกลิ่นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณสัดส่วนไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ในแผ่นฟิล์มพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ที่เหมาะสม ศึกษาจลนพลหศาสตร์ของการย่อยสลายสารเมทิลีนบลู ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติก โดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดสารเมทิลีนบลู ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติก โดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA ด้วยวิธีการฟื้นผิวตอบสนอง แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA ที่มีความเข้มข้นของ TiO2 เท่ากับ 0 (F0), 1 (F1), 3 (F2) และ 5 (F3)% (w/w) ทำงานร่วมกับแสง UVC ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนที่เหมาะสมของ TiO2 ในแผ่นฟิล์มอยู่ที่ 3% (w/w) (แผ่นฟิล์ม F2) สามารถกำจัดสาร MB ได้ 50% ภายในระยะเวลา 60 นาที และย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ได้ 35% โดยมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นไป pseudo-first order และมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ 11.0 x 10-3 นาที-1 ในการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดสารเมทิลีนบลู ทั้ง 3 ปัจจัย (ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารเมทิลีนบลู จำนวนแผ่นฟิล์ม และ pH) ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง พบว่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R-sq) เท่ากับ 98% นอกจากนี้ยังพบว่า สภาวะ pH ที่เป็นด่างสามารถบำบัดสารเมทิลีนบลู ได้ดีกว่าสภาวะอื่น ส่วนจำนวนแผ่นฟิล์มที่น้อย หรือมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดสารเมทิลีนบลูลดลง และความเข้มข้นของสารเมทิลีนบลูที่มากกว่า 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง สภาวะที่เหมาะสมมากที่สุดของทั้ง 3 ปัจจัย คือ มีค่าความเข้มข้นเริ่มต้นของสารเมทิลีนบลู (X1) จำนวนแผ่นฟิล์ม TiO2/PLA (X2) และ pH (X3) เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร 3 แผ่น และ pH เท่ากับ 8.43 ตามลำดับ สภาวะดังกล่าวสามารถบำบัดสารเมทิลีนบลูได้ 80% ภายในระยะเวลาการทำปฏิกิริยาแบบมีแสง UVC 90 นาที
- Itemการคัดเลือกแบคทีเรียในการปรับปรุงคุณภาพดินในการผลิตลำไย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กัลยวรรธน์ อินถาการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติการปรับปรุงดินในการผลิตลำไย โดยทำการทดสอบคุณสมบัติทางเคมีของดิน และทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของดินทั้งก่อน และหลังการประยุกต์ใช้แบคทีเรีย โดยใช้อาหารแข็งทั้งหมด 7 ชนิด เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติในการละลายฟอสเฟต พบ แบคทีเรีย 3 ไอโซเลท ได้แก่ SBP04, SBP109 และ SBP115 ที่สามารถสร้างวงใสรอบโคโลนี (Holo colony ratio) บนอาหาร Pkovskaya'agar นำแบคทีเรียไอโซเลท SBP04 ที่คัดเลือกได้ซึ่งมีการสร้างวงใสรอบโคโลนีสูงที่สุดบนอาหาร Pikovskaya'agar ที่ค่า 1.92 : 0.01 จากนั้นนำแบคทีเรียไอโซเลท SBP04 มาทดสอบคุณสมบัติในการละลายฟอสเฟตในอาหารเหลว พบ แบคทีเรียไอโซเลท SBP04 แสดงค่าคุณสมบัติในการละลายฟอสฟอรัสได้สูงที่สุดที่ 90.12 + 0.69 มิลลิกรัมฟอสเฟตต่อลิตร เมื่อทำการเปรียบเทียบกับชุดควบคุม และทำการศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวโมเลกุลของแบคทีเรียไอโซเลท SBP04 พบว่า แบคทีเรียไอโซเลท SBP04 มีความคล้ายคลึงกับเชื้อแบคทีเรีย Bailluis subtilils โดยมีค่า 99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtis (SBPO4) มาทำการทดสอบในสภาวะกระถางและสภาวะสภาพแปลงปลูก พบว่า การทดลองที่มีการประยุกต์ใช้แบคทีเรีย Baillus subtilis (SBP04) ผสมกับปุ๋ยชีวภาพ แสดงค่าความสามารถในการเพิ่มปริมาณความเป็นกรด - ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ภายในดินซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- Itemการคัดเลือกและพัฒนาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดสัตว์ที่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อความสามารถในการพัฒนาเป็นพันธุ์ลูกผสมบนพื้นที่สูง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กิตติกร นามวงค์โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์พัฒนาสายพันธุ์แท้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสม ที่มีศักยภาพและการปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง จากการใช้เชื้อพันธุกรรม จำนวน 89 สายพันธุ์ คัดเลือกลักษณะทางเกษตรที่ดี จนได้สายพันธุ์แท้ที่ดี จำนวน 12 สายพันธุ์ พบว่า มีลักษณะความแข็งแรงต้นกล้า และระดับความแข็งแรงต้นดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 ขณะที่วันสลัดละอองเกสร และวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58 วัน คะแนนการหักล้มอยู่ในระดับแเข็งแรงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 สำหรับลักษณะทรงต้นและตำแหน่งฝัก มีความสม่ำเสมอปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 จากนั้นทำการผสมระหว่างสายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสมเบื้องต้น และทำการปลูกทดสอบผลผลิตในปลายฤดูฝน (2014L) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC14 ให้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,422 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4199 เท่ากับ 2,124 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับต้นฤดูฝน (2015E) ทำการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 5 คู่ผสมจากปลายฤดูฝน (2014L) ปลูกทดสอบผลผลิตเบื้องต้น พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC11 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,804 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4546 ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 1,966 กิโลกรัมต่อไร่ จึงทำการสร้างพันธุ์ลูกผสมใหม่ 2 วิธี คือ Topcross และ Diallel cross ทำการปลูกทดสอบในฤดูแล้ง (2016D) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF04 x Ki48 ให้มีคำเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,207 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ DK8868 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,013 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการทดสอบหาค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไป วิธีการ Topcross พบว่า สายพันธุ์ UPF22 ให้ค่าสูงที่สุด ขณะที่วิธีการ Diallel cross พบว่า สายพันธุ์ UPFO7 มีค่าสูงที่สุด ในส่วนของค่าสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ วิธีการ Topcross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF02 x Ki60 ให้ค่าสูงสุด และวิธีการ Diallel cross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF07 x UPF02 ให้ค่าสูงสุด
- Itemการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) สรายุทธ วีระวงค์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความขัดแย้งในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และเพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 438 คน แยกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน และครูในสถานศึกษา จำนวน 335 คน ด้วยวิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความขัดแย้งในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า T-test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความขัดแย้งในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความขัดแย้งของบทบาท และด้านความขัดแย้งของเป้าหมาย รองลงมา คือ ด้านความขัดแย้งของปกติวิสัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความขัดแย้งของบุคลิกภาพ 2) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเอาชนะ ด้านการร่วมมือ ด้านการประนีประนอม ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการยอมให้ และด้านการเผชิญหน้า และด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการถอนตัว และด้านการใช้อำนาจ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการร่วมมือ รองลงมา คือ ด้านการประนีประนอม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้อำนาจ
- Itemการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ทิพย์วิมล มั่งมูลการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมอุปสรรคและปัญหา และนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลขององค์กรบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า อุปสรรคและปัญหาในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในยุคดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง มี 4 ข้อ ได้แก่ 1) แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ยังไม่ครอบคลุมด้านเทคโนโลยี 2) ศักยภาพด้านเทคโนโลยีขององค์กรมีจำกัด 3) ความสามารถด้านเทคโนโลยี ของบุคลากรมีน้อย 4 ทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อเทคโนโลยีมีความแตกต่างกัน จากอุปสรรคและปัญหาที่พบ สามารถนำมาพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลขององค์กร ได้ดังนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2) การจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีไว้ในข้อบัญญัติอย่างชัดเจน 3) การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ 4) การจัดทำการประเมินผลด้านเทคโนโลยีและทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีแก่บุคลากรพร้อมทั้งนำข้อบกพร่องมาดำเนินการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
- Itemการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พนิดา บุญยศยิ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ตามโครงสร้างในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 28 คน ครูผู้สอน 236 คน และครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ 10 คน รวมทั้งหมด 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเครื่องมือ รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านนักเรียน ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ด้านนักเรียน ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกสถานที่ ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สนับสนุนอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก และแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับสภาพของแต่ละบุคคล ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาและบริหารหลักสูตรนักเรียนพิการเรียนรวมโดยเฉพาะ และด้านเครื่องมือ ได้แก่ การกำหนดให้การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้อยู่ในนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาให้ชัดเจน
- Itemการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) จันทร์ฟอง ปัญญาวงค์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ และการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H 3) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลัง การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหย่วน (เชียงคำนาคโรวาท) จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ แบบทดสอบความสามารถการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ และการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก และมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-4 88.66/82.63, 80.43/85.26, 84.50/84.74 และ 85.33/84.21 ตามลำดับ 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความสามารถการเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H พบว่า ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด