กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาเรื่อง กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือในพื้นที่ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาผลของการนำนโยบายสาธารณะที่ได้จากกระบวนการแบบปรึกษาหารือ ไปปฏิบัติ ในปี พ.ศ. 2560 - 2562 ของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวม 45 คน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรในชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และข้าราชการประจำท้องถิ่น เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการพรรณนา ซึ่งนำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์ โดยการนำแนวคิดกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การมีส่วนร่วมในเวทีกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ โดยมากเป็นการจัดการ การประชุมเพื่อรับฟังปัญหาความต้องการของประชาชน และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวที แต่ละบุคคลมีบทบาท หน้าที่ แตกต่างกันตามองค์กรที่ตนเองสังกัด โดยไม่มีข้อจำกัด ในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ เพื่อนำปัญหาที่ได้ ไปจัดทำเป็นนโยบายของเทศบาลต่อไป และผลวิจัย ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ถูกกำหนดขึ้น เมื่อออกแบบเป็นกิจกรรมหรือโครงการขึ้นมา แล้วนำไปปฏิบัติ จะสามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ในระดับที่น่าพอใจ เพราะเป็นการนำเสนอปัญหาและความต้องการที่มาจากผู้แทนของประชาชนเข้าร่วมการนำเสนอบนพื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะจากผู้ให้ข้อมูลหลัก เห็นว่ากระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย เกิดจากการนำเสนอปัญหาและตอบสนองความต้องการในพัฒนาด้านต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น แต่เมื่อปรับเปลี่ยนไปเป็นโครงการขึ้นมาแล้ว ไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมดตามที่ได้เสนอไว้ เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด จึงได้เสนอแนะเพิ่มเติมว่า เมื่อกำหนดนโยบายขึ้นมาแล้ว ควรได้รับการดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม หากเทศบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสรรหางบประมาณจากหน่วยงานอื่นมาสมทบ และเน้นว่าควรให้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังปัญหาหรือความต้องการของประชาชนให้ต่อเนื่อง และอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เข้าร่วมเวทีด้วย เพื่อช่วยเสนอแนะความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุม จะได้เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ครบทุกด้าน
Description
The study Deliberative Policy Making Process of Sritoy Sub-district Municipality, Mae Chai District, Phayao Province. This study has two objectives which are 1) to study deliberative public policy making process of SriToy Sub-district Municipality, Mae Chai District, Phayao Province. 2) To study the effect of deliberative public policy making process (Period 2017 - 2019) in SriToy Sub-district Municipality, Mae Chai District, Phayao Province. This research is Qualitative Research. The population who are involved in the deliberative public policy making process in Sri Toy Sub-district Municipality. The target group (45 people) was selected from population by purposive sampling. Which include community leaders, community organization leaders, Local administrators, Local council members and local government officers. The study tools are In-depth interview. The analysis is descriptive information Which are data from in-depth interview and document analysis that applied concept from Deliberative Policy Making Process. The results which have found that According to the first objective, participation in a deliberative public policy making process forum that is a meeting mostly. The meeting has objective to listen problems of people and Establish solutions. People who are stakeholder is invited to the meeting. Each person has different roles and duties according to the organization or social institution. Anyone cloud participate in expressing their opinions. Meeting attendance had gained benefit from presented problems. the municipality which making public policy. According to the second objective, which found that the process of deliberative public policy making process was established. When implement in activities or projects. That is satisfactory because problems and needs was presented from representative organization group or local community leaders in the forum organized by the Municipality. Suggestions from target group commented that a deliberative public policy making process of Sritoy Subdistrict Municipality. This is caused by presenting problems and presenting needs to develop various areas of those involve enough budget to implementation of the proposed. Therefore, suggested further that The policy has been established. Should have been done, The municipality will recruit budget from other organization. The forum will continue that provide even more solutions problems or responds needs. It may be invited specialist in variable areas to provide suggestions and ideas for guidelines for solving problems.
Keywords
กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือ, ผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ, Deliberative policy marking process, Effectiveness of public policy implementation
Citation
รัฐศาสตร์ สันติโชคไพบูลย์. (2564). กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบปรึกษาหารือของเทศบาลตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.