คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Subject "agricultural waste"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเตรียมตัวดูดซับจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติเพื่อกำจัดสีย้อมเมทิลีนบลู(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) สุจินดา แสนธิ; ณัฐฐา ธิวงศ์คำในการศึกษานี้ทำการเตรียมตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด เพื่อกำจัดเมทิลีนบลูในสารละลายน้ำโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรสโกปีที่ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 664 นาโน เมตร ทำการสังเคราะห์ตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด โดยทำการสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าแกลบแล้วปรับปรุงด้วยไคโตซาน ซึ่งจะทำให้เป็นเม็ดในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ด้วยวิธี Ball dropping ทำการศึกษาอัตลักษณ์ของตัวดูดซับโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ศึกษาผลของสภาวะที่เหมาะสมต่อการดูดซับโดยทำการศึกษาเวลาความเข้มข้น พีเอช และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการกำจัดเมทิลีนบลู อธิบายสมดุลการดูดซับโดยใช้ไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ ฟรุนดิชและเทมคิน และศึกษาจลนพลศาสตร์การดูดซับจากปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและปฏิกิริยาอันดับสองเทียม จลนพลศาสตร์การดูดซับและไอโซเทอมการดูดซับสามารถอธิบายได้โดยใช้ปฏิกิริยาอันดับสองเทียมและไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์ (R2 = 0.9911) พบว่า ความสามารถในการดูดซับสูงสุดของตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานเม็ด ค่าเท่ากับ 5000 มิลลิกรัมต่อกรัม จากพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ เช่น พลังงานอิสระกิบส์ เอนทาลปี และเอนโทรปี สามารถอธิบายได้ว่าการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูเป็นการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง