คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Subject "adult"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยาของตาประกอบของมอดแป้งระยะดักแด้หลังจากได้รับรังสี UV-C(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ทรงศักดิ์ สีลาแก้วมอดแป้งเป็นศัตรูที่สำคัญของแป้งและรำ เนื่องจากสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ง่ายทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อควบคุมและป้องกันการเข้าทำลายของมอดแป้งจึงต้องหาวิธีในการกำจัดที่มีประสิทธิภาพ ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่ทดลองใช้รังสี UV-C ในการกำจัดมอดแป้งระยะดักแด้ พบว่า รังสี UV-C ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตาประกอบอย่างชัดเจน ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของรังสี UV-C ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยาของตาประกอบของมอดแป้งระยะดักแด้ โดยทดลองฉายรังสี UV-C ให้แก่ดักแด้อายุ 0 วัน ที่ระยะห่าง 35 เซนติเมตร เป็นเวลา 2, 8, 16, 32 และ 64 นาที พบว่ารังสี UV-C ส่งผลให้การพัฒนาของตาประกอบช้ากว่าในชุดควบคุมและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของตาประกอบของมอดแป้ง คือ ชุดที่ได้รับรังสี UV-C มีจำนวนหน่วยตาและพื้นที่ของตาประกอบน้อยกว่าชุดควบคุม สำหรับผลต่อเนื้อเยื่อวิทยาของตาประกอบของมอดแป้งระยะดักแด้ พบว่า รังสี UV-C ส่งผลต่อความหนาของ cuticle พื้นที่ของ corneal lens และเส้นผ่านศูนย์กลางของ corneal lens เมื่อติดตามผลของการฉายรังสี UV-C ในระยะดักแด้จนเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย จะสังเกตได้ว่ารังสี UV-C ส่งผลทำให้พื้นที่ของ crystalline cone และความยาวของ retinula cells น้อยกว่าชุดควบคุม เมื่อศึกษาภายใต้กล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราดจะพบปุ่มเนื้อบน cuticle ของตาประกอบของดักแด้ในชุดที่ได้รับรังสี UV-C ส่วนในตัวเต็มวัยที่พัฒนามาจากดักแด้ที่ได้รับรังสี UV-C เป็นเวลา 2, 8 และ 16 นาที จะมี facet แบน ขอบเขตของ facet ไม่ชัดเจน และมีจำนวนเส้นขนน้อยกว่าในชุดควบคุม นอกจากนี้ในชุดที่ได้รับรังสี UV-C เป็นเวลา 32 และ 64 นาที พบคราบของดักแด้ที่ลอกออกไม่หมดปกคลุมตัวเต็มวัย ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นตาประกอบได้