คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Subject "acetone gas"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลกระทบของชั้นปลอดประจุพาหะ n-p บนหัวตรวจจับก๊าซซิงค์ออกไซด์ต่อก๊าซอะซีโตน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ชมพูนุช ทับเอมสารซิงค์ออกไซด์ (ZnO) เป็นสารที่มีสมบัติที่ดีในการใช้การตรวจจับก๊าซ เช่น ก๊าซเอทานอล ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือ ก๊าซอะซีโตน เป็นต้น ก๊าซอะซีโตน (C3 H6O) เป็นสารเคมีที่มีความไวไฟสูงและเป็นก๊าซที่ระเหยง่าย และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการไอหรือเวียนศีรษะ เมื่อสูดดมเป็นเวลานานหัวตรวจจับก๊าซจากสารโครงสร้างนาโนซิงค์ออกไซด์สร้างขึ้นได้ง่าย โดยการใช้ผงซิงก์ออกไซด์ (ZnO) ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แบบ Current Heating ทำบนแผ่นรองรับอินเตอร์ดิจิตอลและนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 350 ๐C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นได้ศึกษาสมบัติการตอบสนองต่อก๊าซอะซิโตนที่ระดับความเข้มข้น 50-500 ppm ที่อุณหภูมิปฏิบัติการ 250-350 ๐C จากนั้นทำการโดปหัวตรวจจับก๊าซซิงค์ออกไซด์ด้วยนาโนคอปเปอร์ที่ได้จากวิธีการเตรียมแบบ DC Arc-Dis-Charge ปริมาณที่ใช้อยู่ในช่วง 0.50-3.00 μl เพื่อศึกษาผลกระทบของชั้นปลอดประจุพาหะ n-p บนหัวตรวจจับก๊าซซิงค์ออกไซด์ต่อก๊าซอะซิโตนที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 50-500 ppm ที่อุณหภูมิปฏิบัติการ 250-350 ๐C จากผลการทดลองค่าสภาพไวที่ได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของชั้น depletion layer ระดับความเข้มข้นของก๊าซอะซิโตน ปริมาณของนาโนคอปเปอร์ ที่โดปบนหัวตรวจจับก๊าซ และอุณหภูมิปฏิบัติการจากนั้น ได้หาความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างค่าสภาพไว และค่าระดับความเข้มข้น เพื่อใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณภาพของหัวตรวจจับก๊าซที่ถูกสร้างขึ้น