คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Subject "Antioxidant activity"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากรากผักหวานป่า(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ทักษพร พรมแก้วต่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และวิเคราะห์หาปริมาณ ฟีนอลิกรวมของส่วนสกัดหยาบรากผักหวานป่าที่ได้จากการสกัดรากผักหวานแห้งน้ำหนัก 400 กรัม ด้วย 85% เอทานอล ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นจึงกรองสารละลาย นำสารลายละลายที่ได้จากการกรองไประเหยตัวทำละลายโดยใช้เครื่องระเหยสูญญากาศแบบหมุนจะได้สารสกัดหยาบครั้งที่ 1 นำส่วนกากจากการกรองไปแช่ 85% เอทานอล และทำซ้ำขั้นตอนอีก 2 ครั้ง จะได้สารสกัดหยาบน้ำหนักรวม 10.5 กรัม ส่วนสกัดหยาบถูกนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS และวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric assay ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดรากผักหวานป่าโดยวิธี DPPH มีค่า IC50 เท่ากับ 2904.55 พีพีเอ็ม ขณะที่สารละลายมาตรฐานกรดแอสคอร์บิกแสดงค่า IC50 เท่ากับ 1.30 พีพีเอ็ม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS มีค่า TEAC เท่ากับ 1.04 มิลลิโมลาร์ ปริมาณฟีนอลิกรวมต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง โดยวิธี Folin–Ciocalteu colorimetric assay มีค่าเท่ากับ 0.56 mg GAE/gDW
- Itemการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเนื้อของผลผักหวานป่าที่สกัดด้วย 85% เอทานอล(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กิ่งดาว โพธิ์ศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดจากเนื้อของผลผักหวานป่า ส่วนเนื้อของผลผักหวานป่า 100 กรัม ถูกนำมาสกัดด้วย 85% เอทานอล ปริมาตร 1 ลิตร โดยแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากกรอง และระเหยตัวทำละลายจะได้สารสกัดหยาบ และทำการสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง จะได้สารสกัดหยาบรวมน้ำหนัก 18 กรัม สารสกัดหยาบถูกนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี คือ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay และ 2,2-Azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonic acid) diammonium salt (ABTS) cation radical scavenging assay และวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกรวมโดยเทคนิคทางสเปกโทรสโคปีโดยใช้สารละลาย Folin-Ciocalteu ผลการวิเคราะห์พบว่า สารสกัดหยาบแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยค่า IC50 เท่ากับ 4759.44 พีพีเอ็ม จากการทดสอบโดยวิธี DPPH และให้ค่า TEAC เท่ากับ 0.3371 มิลลิโมลาร์ จากผลทดสอบด้วยวิธี ABTS สำหรับปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดมีค่าเท่ากับ 2.80 มิลลิกรัมของ กรดแกลลิกต่อสารสกัด 1 กรัม
- Itemการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบแก่นตะวัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ปราณปริยา ตลับเพชร; วาสนา พุดตานทองส่วนสกัด 4 ส่วน ( เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตท และน้ำ) ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH และ ABTS ปริมาณฟีนอลิกรวมถูกตรวจสอบด้วยเทคนิคทางสเปคโทรสโคปีโดยใช้วีธีฟอลิน-เชียคัลธู ส่วนสกัดเฮกเซนแสดงปริมาณของฟีนอลิกรวมสูงที่สุด คือ 0.8818 mg GAE/g DW ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดพบในส่วนสกัดเอทิลอะซิเตท เมื่อทดสอบด้วย DPPH มีค่า IC50 542.36 ppm ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดไดคลอโรมีเทนมีค่าสูงที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS คือ 4.9952 mM
- Itemการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตทจากหัวแก่นตะวัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชุติมา มัชฌเวทย์; นิโลบล ทีสุ่มงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตทจากหัวแก่นตะวัน สารสกัดถูกนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ABTS และ FRAP ปริมาณฟีนอลิกรวมถูกตรวจสอบโดยเทคนิคทางสเปกโทรสโคปีโดยใช้ Folin-ciocalteu สารสกัดหยาบแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 69.70 mg/L เมื่อทดสอบโดยวิธี DPPH ค่า TEAC เท่ากับ 5.0128 mM และค่า FRAP เท่ากับ 2.3331 mg Fe/g DW เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดหยาบมีค่าเท่ากับ 0.8201 mg GAE/g DW