คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Author "กัณฐิกา พุทธา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องเงินและเอื้องเงินแดงในหลอดทดลอง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กัณฐิกา พุทธาการศึกษาการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องเงินที่ได้จากการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ IBA ที่มีความเข้มข้น 0, 1, 5, และ 10 mg/l เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า โปรโตคอร์มที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับ BA 5 mg/l มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงที่สุด อยู่ในช่วงระดับการเจริญเติบโตเพิ่มมากที่สุด คือ ระดับที่ 4 สำหรับต้นอ่อนของกล้วยไม้เอื้องเงิน และกล้วยไม้เอื้องเงินแดง ผลการทดลองพบว่า กล้วยไม้เอื้องเงินที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับ IBA 5 mg/l สามารชักนำให้ จำนวนใบ และจำนวนรากเฉลี่ยสูงสูง คือ (4.67 ใบ/ชนิ้ และ 8 ราก ตามลำดับ) ในขณะที่อาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับ BA 10 mg/l สามารถชักนำให้มีจำนวนยอดมากสุด คือ 4.22 ยอด/ชิ้น ส่วนของต้นอ่อนกล้วยไม้เอื้องเงินแดง พบว่า อาหาร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับ IBA 5 mg/l กับ BA 10 mg/l ส่งเสริมให้มีจำนวนใบมากสุด คือ 2.44 ใบ/ชิ้น ในขณะที่อาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว ร่วมกับ IBA 10 mg/l กับ BA 10 mg/l สามารถชักนำให้มีจำนวนยอดมากสุด คือ 1.33 ยอด/ชิ้น สำหรับแนวโน้มในการออกดอกของกล้วยไม้เอื้องเงิน เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหาร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าวปรับลดไนโตรเจน 5 เท่า และเพิ่มฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียม 10 เท่า ร่วมกับซูโครส 60 g/l และที่เติม BA 2 mg/l พบว่า มีเปอร์เซ็นต์ในการออกดอก (20% และ 10% ตามลำดับ) ส่วนกล้วยไม้เอื้องเงินแดง ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าวปรับลดไนโตรเจน 5 เท่า และเพิ่มฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม 10 เท่า ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 90 กรัมต่อลิตร พบว่า สามารถชักนำการออกดอก 10% ซึ่งลักษณะของดอกยังเป็นดอกที่มีโครงสร้างยังไม่สมบูรณ์ เมื่อดอกออกมาได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดอกจะเหลืองและเหี่ยวไปในที่สุด