คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Author "กฤษพร ชอบธรรม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กฤษพร ชอบธรรมการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อได้รับการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ (5E) เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 เมื่อได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลกระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน และเพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 23 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 4 แผน จำนวน 9 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test แบบ Average Normalized Gain ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังจากดำเนินการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลก กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน พบว่า 1.1 ผลการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้วิธี Normalized gain มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลก มีความก้าวหน้าทางการเรียนแบบรายเนื้อหาในระดับปานกลาง (g) = 0.4 1.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโลก พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบหลังเรียน (x̅f = 18.81) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน (x̅1 = 9.385) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05