คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Author "กมลวรรณ สุเภากิจ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของชั้นไดอิเล็กทริกที่มีผลต่อการวัดค่าความจุไฟฟ้าและรูปร่างของหยดน้ำในดิจิทัลไมโครฟลูดิกส์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กมลวรรณ สุเภากิจ; กัลยาณี พรมคำงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของชั้นไดอิเล็กทริกต่อค่าความจุไฟฟ้า และการเปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสของหยดของเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า มีปริมาณที่เกี่ยวข้องดังนี้ ระยะห่างของขั้วไฟฟ้าชนิดของชั้นไดอิเล็กทริก และความหนาของชั้นไดอิเล็กทริก ตามลำดับ ขั้วไฟฟ้าขนาด 3x3 มิลลิเมตร ทำจากการกัดลายวงจรพิมพ์ ขั้วไฟฟ้าถูกเคลือบชั้นไดอิเล็กทริกไทเทเนียมไดออกไซด์/โพลีไดเมทิลไซลอกเซน (TiO2/PDMS) นาโนคอมโพสิทซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นไดอิเล็กทริกที่อัตราส่วน 0wt% 3wt% 5wt% และ 10wt% ตามลำดับ จากการผลทดลองวัดค่าความจุไฟฟ้าของหยดน้ำ บนขั้วไฟฟ้าระยะห่างระหว่างขั้ว 250 ไมโครเมตร เคลือบด้วย TiO2/PDMS นาโนคอมโพสิท ความหนา 13±1 ไมโครเมตร ให้ความจุไฟฟ้ามากที่สุด และพบว่า ค่าความจุไฟฟ้าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนผสมของ TiO2/PDMS มีค่ามากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบขั้วไฟฟ้าที่เคลือบ พอลิเมอร์ PDMS กับ วัสดุนาโนคอมโพสิท TiO2/PDMS พบว่า ค่าความจุไฟฟ้าที่อัตราส่วน 3wt%, 5wt% และ 10wt% มีแนวโน้มเพิ่มอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับพอลิเมอร์ PDMS (0wt%) จากผลการทดลองวัดมุมสัมผัสของหยดน้ำ DI ที่เปลี่ยนแปลงบนขั้วไฟฟ้าระยะห่างระหว่างขั้ว 250 ไมโครเมตร เคลือบด้วยชั้นไดอิเล็กทริก PDMS และ TiO2/PDMS (3wt%, 5wt% และ 10wt%) ความหนา 13±1 ไมโครเมตร พบว่า มุมสัมผัสของหยดของเหลวเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เมื่อเพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้ากระตุ้น และพบว่า การเปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสของหยดน้ำ DI เพิ่มขึ้นเมื่อความหนาของชั้นไดอิเล็กทริกลดลง สำหรับชั้นไดอิเล็กทริก TiO2/PDMS อัตราส่วน 10wt% ความหนา 13±1 ไมโครเมตร ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากระตุ้น 400 โวลต์ ทำให้มุมสัมผัสการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด 40 องศา