คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Author "กมลลักษณ์ ธรรมราช"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลอัลลีโลพาธีของสารสกัดจากพืชต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชหญ้าก้นจ้ำขาว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) รัสชญา คำมี; สุภชา ธุวะคำ; กมลลักษณ์ ธรรมราชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชที่มีคุณสมบัติอัลลิโลพาธีในการควบคุมการงอก และการเจริญเติบโตของหญ้าก้นจ้ำขาว โดยสกัดจากพืช 5 ชนิด ได้แก่ พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris) ราชพฤกษ์ (Cassia fistula) หญ้าดอกขาว (Leptochloa chinensis Nees) ต้อยติ่ง (Ruellia tuberose Linn.) และหญ้าก้นจ้ำขาว (Bindens pilosa Linn.) สกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์สามชนิด คือ เมทานอล เอทิลอะซิเตต และเฮกเซน นำมาทดสอบความเป็นพิษเบื้องต้นต่อไรทะเล ทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชโดยการตรวจสอบการงอก ความเร็วในการงอก ความยาวยอด ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของเมล็ดหญ้าก้นจ้ำขาว เปรียบเทียบกับสารเคมีกำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า สารสกัดที่มีความเป็นพิษต่อไรทะเลสูงที่สุด คือ สารสกัดจากพญาสัตบรรณ ที่สกัดด้วยตัวทำละลายทั้งสามชนิดมีค่า LC50 เท่ากับ 0.010 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดจากพืชที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งอัตราการงอกของเมล็ดก้นจ้ำขาวได้ดีที่สุด คือ สารสกัดจากพืชทุกชนิด ที่ความเข้มข้น 0.5 0.25 และ 0.125 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดก้นจ้ำขาวได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดที่สามารถยับยั้งความยาวยอดได้ดีที่สุด คือ สารสกัดจากหญ้าก้นจ้ำขาวที่สกัดด้วยเมทานอล ที่ความเข้มข้นระหว่าง 0.5 0.25 และ 0.125 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งความยาวยอดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารสกัดจากพืชทุกชนิดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซนที่ความเข้มข้นระหว่าง 0.5 0.25 และ 0.125 เปอร์เซ็นต์สามารถยับยั้งความยาวรากของก้นจ้ำขาวได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ จากการตรวจสอบน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของ ต้นอ่อนหญ้าก้นจ้ำขาว พบว่า สารสกัดจากพญาสัตบรรณที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลลอะซิเตต ให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งได้ดีที่สุดถึง 100 เปอร์เซ็นต์ที่ความเข้มข้น 0.5 0.25 และ 0.125 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากก้นจ้ำขาว และพญาสัตบรรณมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอก และการเจริญเติบโตของหญ้าก้นจ้ำข้าวได้ดีกว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชไกลโฟเสท