ผลของออกซินและไซโตไคนินต่อการเพิ่มจำนวนยอดของพุทธรักษา (Canna indica L.) ในสภาพปลอดเชื้อ

Abstract
การศึกษาผลของออกซินและไซโตไคนินต่อการเพิ่มจำนวนยอดของพุทธรักษา (Canna indica L.) ได้ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดยอดของพุทธรักษาในสภาพปลอดเชื้อ โดยตัดส่วนเหง้าของพุทธรักษาเป็น 1, 2 และ 4 ส่วน มาเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน ได้แก่ BA ที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.1, 1, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน ได้แก่ NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า การเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินและไซโตไคนินร่วมกันสามารถชักนำให้จำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 4.8, 4.4 และ 1.8 ยอดต่อชิ้นส่วนเหง้าที่ตัดเป็น 1, 2 และ 4 ส่วนตามลำดับ ในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเหง้าพุทธรักษาในสภาพปลอดเชื้อ
Description
This research is to study the effect of auxins and cytokinins. The optimum medium on shoot multiplication of Canna indica L. In vitro culture. Explants from rhizomes (intercepted 1, 2 and 4 parts) were cultured on semi-solid Murashige and Skoog (MS), 1962 medium supplemented with various concentrations of cytokinins; BA at 0.0, 0.1, 1.0, 5.0 and 10.0 mg/l and auxins; NAA at 0.0 and 1.0 mg/l for 4 weeks. The results found that the highest shoot multiplication number (average 4.8, 4.4 and 1.8 shoot/explants intercepted 1, 2 and 4 parts respectively) were obtained when cultured on the medium with the combination of BA 5 mg/l and NAA 1 mg/l.
Keywords
พุทธรักษา (Canna indica L.), ออกซิน, ไซโตไคนิน, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, Canna (Canna indica L.), Auxins, Cytokinins, Tissue culture
Citation
ธนภรณ์ อิ่นถา และศิริรัตน์ กิติคู้. (2561). ผลของออกซินและไซโตไคนินต่อการเพิ่มจำนวนยอดของพุทธรักษา (Canna indica L.) ในสภาพปลอดเชื้อ. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.