แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจังหวัดระนอง
dc.contributor.author | รักพงษ์ ขอลือ | |
dc.date.accessioned | 2024-09-24T07:43:10Z | |
dc.date.available | 2024-09-24T07:43:10Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.description | Subject research guidelines for the development and promotion of Natural Tourism in Ranong Province. Objective 1) to study the tourism resources of Ranong Province. 2) To seek for the development and promotion of tourism resources of Ranong Province. 3) To promote tourism in Ranong on a community base. 4) To propose guidelines for tourism development and promotion of Ranong Province. This research study was a qualitative research. Data collected by interviewing 25 key informants. The research results were found that Ranong tourism resources there is a wide variety of tourism availability and potential and also gives visitors the opportunity to learn clearly besides that, you can also experience the way of life. Community culture Ranong is adjacent to the Andaman Sea. Fertility natural resources a variety of sea, mountains, waterfalls, dive sites, which are well known among tourists and Ranong Province still has natural hot spring water in many areas of the province has the world's first mangrove biosphere reserve called Ranong biosphere area are abundant and biodiversity tourism resources belonging to the category of nature in Ranong Province. There is a lot of variety and interest can attract tourists as well. The study and research of tourism resources in Ranong Province by analyzing the elements of tourism development for building tourism potential (7 A's) and marketing mix for promoting tourism (7 P's) study of strengths, weaknesses, opportunities and obstacles, analyzes the internal and external environment (SWOT Analysis). The tourism resources of Ranong Province are readily available and diverse in tourism potential, and also provide opportunities for visitors to learn and experience lifestyle. The culture is clearly defined in this section. To seek ways to develop and promote tourism resources of Ranong Province which can summarize the guidelines for the development and promotion of tourism resources of Ranong Province as follows; 1) Infrastructure development should be promoted. Logistics system and transportation. 2) Should promote and control the quality of tourist attractions. Making tour guides that are interesting and suitable for each target group of tourists. 3) Public relations and tourism stories. 4) Increase the potential of tourism activities in Ranong Province, develop a service model. Tourism is full and has the same standard of service and 5) create a product identity that belongs to Ranong itself. | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง 2) เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดระนองบนฐานชุมชน 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง มีความพร้อมและศักยภาพในการท่องเที่ยวที่หลากหลาย นอกเหนือจากนั้นยังสามารถสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน จังหวัดระนองอยู่ติดทะเลอันดามัน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นทั้ง ทะเล ภูเขา น้ำตก มีแหล่งดำน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว และจังหวัดระนองนั้นยังมีแหล่งน้ำแร่ร้อนธรรมชาติอยู่ในหลายพื้นที่ มีพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลนแห่งแรกของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มประเภทของธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดระนอง มีความหลากหลายและน่าสนใจเป็นจำนวนมาก ภาพรวมของทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง มีอิทธิพลและสามารถตอบสนองความต้องการและเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว และยังเกิดความภาคภูมิใจแก่คนในชุมชน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่มีประวัติและเรื่องราวมาเป็นเวลานาน การศึกษาวิจัยทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง โดยวิเคราะห์องค์ประกอบของการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว (7 A's) และส่วนประสมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (7 P's) การศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก (SWOT Analysis) ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองมีความพร้อม และศักยภาพในการท่องเที่ยวที่หลากหลายและยังเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรมได้อย่างชัดเจนในส่วนนี้ผู้วิจัยนำผลที่ได้วิเคราะห์สรุป เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง ซึ่งสามารถสรุปแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง ได้ดังนี้ 1) ควรส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และการคมนาคมขนส่ง 2) ควรส่งเสริมและควบคุมคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำรายการนำเที่ยวให้มีความน่าสนใจ และเหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3) การประชาสัมพันธ์และการบอกต่อเรื่องราวการท่องเที่ยว ให้ครอบคลุมและทั่วถึงทุกช่องทาง 4) เพิ่มศักยภาพกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวจังหวัดระนองพัฒนารูปแบบการให้บริการ และมีมาตรฐานการให้บริการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และ 5) สร้างอัตลักษณ์ของสินค้าที่เป็นของจังหวัดระนองเอง | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | รักพงษ์ ขอลือ. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจังหวัดระนอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC). | tha |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/783 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ | |
dc.subject | จังหวัดระนอง | |
dc.subject | Tourism development and promotion | |
dc.subject | Naltural tourism | |
dc.subject | Ranong Province | |
dc.title | แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจังหวัดระนอง | |
dc.title.alternative | Approaches to Development and Promotion of Natural Tourism in Ranong Province, Thailand | |
dc.type | Thesis |