ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง การแยกสารผสมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
No Thumbnail Available
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง การแยกสารผสม รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามจิตวิทยาศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า 1) แผนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง การแยกสารผสม รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.74 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง การแยกสารผสม รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ผลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความประหยัด และด้านการร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รองลงมา คือ ด้านความมุ่งมั่น 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง การแยกสารผสมรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านกิจกรรมการเรียน ตามลำดับ
Description
The objectives of this study were 1) to develop the 7E Learning Cycle learning management plan on substance separation of Science and Technology Course for developing skills on scientific process and scientific mind of Matthayomsuksa 2 students; 2) to compare the students’ scientific skills before and after implementing the 7E Learning Cycle learning management on substance separation of Science and Technology Course; 3) to examine the students’ scientific mind before and after implementing the 7E Learning Cycle learning management on substance separation of Science and Technology Course; and 4) to assess the students’ satisfaction towards the 7E Learning Cycle learning management plan on substance separation of Science and Technology Course. The samples were 30 Matthayomsuksa 2/1 from Samakkhi Witthayakhom School 2 in their academic year 1/2022. The research instruments were 7E Learning Cycle learning management plan, scientific process skills test, scientific mind test and satisfaction questionnaire towards 7E Learning Cycle learning management plan. The results showed that: 1) The validation by 3 experts for the 7E Learning Cycle learning management plan on substance separation of Science and Technology Course for developing skills on scientific process and scientific mind of Matthayomsuksa 2 students, in overall, showed the highest appropriateness at the mean of 4.74. 2) The comparison of pre- and posttest on scientific process skills of students under the implementation of 7E Learning Cycle learning management on substance separation of Science and Technology Course showed that the students’ critical thinking skills on the posttest were higher than those of the pre-test at the confidence level of 0.01 3) The students’ scientific mind, in overall, was found at a high level at the mean of 3.76. The individual aspects analysis showed that the aspect showing the highest mean was economy, followed by working with other creatively, and determination respectively. 4) The students’ satisfaction towards 7E Learning Cycle learning management plan on substance separation of Science and Technology Course showed the high level of satisfaction at the mean of 4.49. The individual aspects analysis showed that the aspect showing the highest mean was learning management atmosphere, followed by benefits, and learning activities respectively.
Keywords
การจัดการเรียนรู้แบบบันได 7 ขั้น, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, จิตวิทยาศาสตร์, 7E Learning Cycle, Substance Separation, Scientific Process Skills, Scientific Mind