ผลของสารสกัดหยาบจากหญ้าแฝกต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์

dc.contributor.authorธารินทร์ ศรีวิโรจน์
dc.date.accessioned2024-05-31T06:23:32Z
dc.date.available2024-05-31T06:23:32Z
dc.date.issued2018
dc.descriptionVetiver grass is a plant that has long roots and is important to used in soil and water conservation. Leaves of vetiver grass will have cut every three mouths. Thus, they are by products that should be used in other ways. Today, many researchers reported that some plant extracts had antibacterial properties against bacterial pathogen. Therefore, this research aimed to study phytochemical and antibacterial activity of 12 vetiver grass extracts including Maehongson, Maetae, Srilanka, Chiangmai, Prarachatan, Songkhla 3, Kanchanaburi, Phitsanulok, Prangkwa, Chanthaburi, Nakhonsawan and Huaikhakhang. Leaves of vetiver grass were extracted by using 4 solvents; water, ethanol, acetone and hexane. The vetiver grass extracts were subjected to phytochemical screening tests. The results showed that saponin, tannin and flavonoids present in vetiver grass extracted by water. Ethnolic extracts showed terpenoids tannin and flavonoids, while some vetiver grass extracted by acetone showed terpenoids and flavonoids. In contract, hexane extracts were not found all phytochemistry. The highest content of phenolic compounds was obtained Huaikhakhang aqueous extracts. In latter time, all vetiver grass extracts were determined the bacteria growth inhibition of 3 group pathogenic bacteria including skin pathogen group namely Staphylococcus aureus DMST 8840, Streptococcus pyogenes DMST 30653, Propionibacterium acnes DMST 14916 and Pseudomonas aeruginosa DMST 4739, oral and throat pathogen group namely Streptococcus mutans DMST 18771, Streptococcus sobrinus DMST 35719 and Moraxella catarrhalis DMST 17121, gastrointestinal tract pathogen group namely Escherichia coli DMST 4212, Salmonella Typhi DMST 22842, Shigella flexneri DMST 4423, and Listeria monocytogenes DMST 17203 by disc diffusion method. In skin pathogen group bacterial inhibition, Prarachatan ethanolic extracts shows highest activity against S. pyogenes. About oral and throat pathogen group bacterial inhibition, Prarachatan ethanolic extracts showed highest activity against S. mutans. However, only L. monocytogenes in gastrointestinal tract pathogen was sensitive to vetiver grass extracts. All of aqueous extracts were not showed inhibition zone. The results showed that Maetae, Phitsanulok, Prangkwa Chiangmai and Nakhonsawan ethanolic and acetone extracts had minimum value of MIC of 62.5 mg/ml, and MBC of 125 mg/ml.
dc.description.abstractหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวและมีความสำคัญต่อการนำไปใช้ในการอนุรักษ์น้ำและดินใบหญ้าแฝกจะถูกตัดทุก 3 เดือน เพื่อส่งเสริมการเจริญของราก ดังนั้นจึงมีใบเหลือทิ้งที่น่านำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้ ในปัจจุบันหลายงานวิจัยรายงานว่า สารสกัดจากพืชบางชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมีและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค ของสารสกัดหญ้าแฝกทั้ง 12 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แม่ฮ่องสอน แม่เตี๊ยะ ศรีลังกา เชียงใหม่ พระราชทาน สงขลา 3 กาญจนบุรี พิษณุโลก ปางกว้าง จันทบุรี นครสวรรค์ และห้วยขาแข้ง โดยนำใบหญ้าแฝกมาสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ น้ำ เอทานอล 95 เปอร์เซ็น อะชิโตน และเฮกเซน เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบสารประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้น พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยน้ำ พบซาโปนิน แทนนิน และฟลาโวนอยด์ในทุกสายพันธุ์ สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น พบแทนนิน เทอร์ปีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ทุกสายพันธุ์ สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยอะซิโตน พบว่า มีเทอร์ปีนอยด์และฟลาโวนอยด์ในบางสายพันธุ์ ในขณะที่สารสกัดที่สกัดด้วยเฮกเซน ไม่พบสารพฤกษเคมีใด จากการตรวจสอบปริมาณฟินอลิกรวม พบว่า สายพันธุ์ห้วยขาแข้งที่สกัด ด้วยน้ำมีปริมาณฟินอลิกรวมมากที่สุด จากนั้นสารสกัดทั้งหมดถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus DMST 8840, Streptococcus pyogenes DMST 30653, Propionibacterium acnes DMST 14916, และ Pseudomona aeruginosa DMST 4739 กลุ่มแบคที่เรียก่อโรคช่องปากและลำคอ ได้แก่ Streptococcus mutans DMST 18771, Streptococcus sorbinus DMST 35719, และ Moraxella catarrhalis DMST 17121, และกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli DMST 4212, Salmonella Typhi DMST 22842, Shigella flexneri DMST 4423, และ Listeria monocytogenes DMST 17203 ด้วยวิธี disc diffusion ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง พบว่า สารสกัดสายพันธุ์พระราชทานที่ สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น ยับยั้งเชื้อ S. Pyogenes ได้ดีที่สุดกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคช่องปากและลำคอ พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์พระราชทานที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น ยับยั้งเชื้อ S. mutans ได้มากที่สุด ในขณะที่กลุ่มแบคทีเรีย แบคทีเรียก่อโรคระบบทางเดินอาหาร พบว่า L. monocytogenes เท่านั้นที่มีความไวต่อสารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์เชียงใหม่ที่สกัดด้วยเอทานอล 95% มากที่สุด นอกจากนี้ผลการวิจัยยัง พบว่า สารสกัดด้วยน้ำไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้เลย จากนั้นนำสารสกัดที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ไปหาค่า MIC และ MBC พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์แม่เตี๊ยะ พิษณุโลก ปางกว้าง เชียงใหม่ และนครสวรรค์ ที่สกัดด้วย เอทานอล 95 เปอร์เซ็น และอะซิโตน ให้ค่า MIC ต่ำสุดอยู่ที่ 62.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า MBC ต่ำสุดอยู่ที่ 125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/556
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectหญ้าแฝก
dc.subjectสกัดสาร
dc.subjectสารพฤกษเคมี
dc.subjectการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย
dc.subjectVetiver grass
dc.subjectExtraction
dc.subjectPhytochemistry
dc.subjectBacteria inhibition
dc.titleผลของสารสกัดหยาบจากหญ้าแฝกต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์
dc.title.alternativeEffect of Crude Extracts Vetiver Grass on Growth of Pathogenic Bacteria in Human
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Tarin Srewirot.pdf
Size:
2.22 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: