ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
dc.contributor.author | นันทกานต์ แสนรักษ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-03-27T08:55:48Z | |
dc.date.available | 2024-03-27T08:55:48Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.description | The purpose of this quasi experimental study was to examine the health communication program on health literacy for control diabetes. The purposive sampling were assigned to the experimental group (n=33) and control group (n=33). Completed a twelve weeks, the experimental group received the health communication on health literacy for surveillance prevention and control and control group received the normal care. Before and after 6 weeks and 12 weeks of intervention, health literacy, self-care behaviors and fasting blood sugar were measured. The data were analyzed using mean scores, percentage, standard deviation, Independent t-test, and Repeat Measures ANOVA. The level of significance was less than 0.05. The result showed the significant higher mean score health literacy, self-care behaviors among the participants in the experimental group after the activity and significant higher than control group at F- test = 4.114, p-value = 0.047, F- test = 71.491, p-value < 0.001. Besides, the significant higher mean score was found in fasting blood sugar level in the experimental lower than the control group at p-value = 0.048. This research suggested that health facilities should be applied the program to promote health literacy in order to control diabetes mellitus in the area study and the similar area study. | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวานตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน ดำเนินการศึกษา 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วัดผลระยะก่อนทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 6 และระยะติดตามผลสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลความฉลาดทางสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน พฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent T-test และ Repeated Measures ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value < 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F-test = 4.114, p-value = 0.047, F- test = 71.491, p-value < 0.001) และยังพบว่า หลังการทดลองในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.013, p-value = 0.048) ผลที่ได้จากการวิจัยหน่วยงานด้านสุขภาพควรนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพ เพื่อวางแผนควบคุมโรคในพื้นที่ศึกษา และพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/370 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | เบาหวาน | |
dc.subject | ความฉลาดทางสุขภาพ | |
dc.subject | การดูแลตนเอง | |
dc.subject | Diabetes | |
dc.subject | Health literacy | |
dc.subject | Self-care | |
dc.title | ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา | |
dc.title.alternative | Effectiveness of Health Communication Program on Health Literacy for Control Diabetes Mellitus in Mae Ka Sub-district, Phayao Province | |
dc.type | Thesis |