ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวานตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน ดำเนินการศึกษา 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วัดผลระยะก่อนทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 6 และระยะติดตามผลสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลความฉลาดทางสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน พฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent T-test และ Repeated Measures ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value < 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F-test = 4.114, p-value = 0.047, F- test = 71.491, p-value < 0.001) และยังพบว่า หลังการทดลองในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.013, p-value = 0.048) ผลที่ได้จากการวิจัยหน่วยงานด้านสุขภาพควรนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพ เพื่อวางแผนควบคุมโรคในพื้นที่ศึกษา และพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน
Description
The purpose of this quasi experimental study was to examine the health communication program on health literacy for control diabetes. The purposive sampling were assigned to the experimental group (n=33) and control group (n=33). Completed a twelve weeks, the experimental group received the health communication on health literacy for surveillance prevention and control and control group received the normal care. Before and after 6 weeks and 12 weeks of intervention, health literacy, self-care behaviors and fasting blood sugar were measured. The data were analyzed using mean scores, percentage, standard deviation, Independent t-test, and Repeat Measures ANOVA. The level of significance was less than 0.05. The result showed the significant higher mean score health literacy, self-care behaviors among the participants in the experimental group after the activity and significant higher than control group at F- test = 4.114, p-value = 0.047, F- test = 71.491, p-value < 0.001. Besides, the significant higher mean score was found in fasting blood sugar level in the experimental lower than the control group at p-value = 0.048. This research suggested that health facilities should be applied the program to promote health literacy in order to control diabetes mellitus in the area study and the similar area study.
Keywords
เบาหวาน, ความฉลาดทางสุขภาพ, การดูแลตนเอง, Diabetes, Health literacy, Self-care