การใช้อนุกรมวิธานเชิงบูรณาการในการประเมินความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในอุทยานแห่งชาติ ดอยภูคา จังหวัดน่าน

Loading...
Thumbnail Image
Date
2021
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน โดยการศึกษาจะใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม โดยอาศัยการวิเคราะห์บริเวณตำแหน่งยืน 16S rRNA ในไมโตคอนเครียดีเอ็นเอ ของตัวอย่างทั้งหมด 97 ตัวอย่าง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ด้วยดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล GenBank ผลจากการศึกษา พบการกระจายตัวของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ทั้งหมด 7 วงศ์ 25 สกุล 42 ชนิด ซึ่งถือว่าในพื้นที่มีความหลากหลายค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่รายงานครั้งแรกในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ สัตว์สะเหินน้ำสะเทินบกในสกุล Grocixalus จำนวน 2 ชนิด คือ Gracixalus yunnanensis และ Gracxalus quang: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Quosipca จำนวน 1 ชนิด คือ Quasipaa verrucospinosa และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Limnonectes จำนวน 1 ชนิด คือ Limnonectes bannaensis จากการศึกษาในครั้งนี้ พบการกระจายตัวแบบ Sympatric distribution ระหว่าง Limnonectes taylori และ Limnonectes bannaensis ในพื้นที่เดียวกัน
Description
The study of amphibian diversity in Doi Phu Kha National Park, Nan Province, by morphological characters and genetic characteristics. Based on analysis of the mitochondrial DNA (16S rRNA) from ninety-seven samples. The phylogenetic genetic relationship analysis and compared to the GenBank database showed that the results showed a relatively diverse distribution of amphibians in Doi Phu Kha National Park, Nan Province. The results show that four species of first reported in Thailand. Two species of genus Gracixalus, (Gracixalus yunnanensis and Gracixalus quangi), one species of Genus Quasipaa, (Quasipaa verrucospinosa) and one species of Genus Limnonectes, (Limnonectes bannaensis). This study supports previous findings of sympatric members of a species complex that are not each other's closest relatives. between L. taylori and L. bannaensis.
Keywords
ความหลายหลายทางชีวภาพ, การอนุกรมวิธาน, ไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ, 16S rRNA, Biodiversity, Taxonomy, Mitochondria DNA
Citation