แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19

No Thumbnail Available
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเรื่อง แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดใหม่ ช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 นำไปสู่การเสนอแนะกลยุทธ์การปรับตัวที่เหมาะสมในโรงแรมขนาดกลางในภาวะวิกฤตโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการโรงแรม หรือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรม จากการศึกษาพบว่า ในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 โรงแรมมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้รายได้ของโรงแรมลดลงมากกว่าร้อยละ 70 และ พบว่า โรงแรมบางแห่งมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยการซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ส่วนผลกระทบด้านสังคม เนื่องจากภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้โรงแรมมีรายได้ลดลงจึงต้องมีการจ่ายเงินเดือนพนักงานในจำนวนที่ลดลงเช่นกัน ส่งผลให้พนักงานมีเงินไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย จึงเป็นผลให้พนักงานลาออก จากผลกระทบดังกล่าวนำมาสู่การปรับตัวทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้ และเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรม เช่น การขาย Voucher ห้องพัก การขายอาหารออนไลน์ มีการเปลี่ยนโรงแรมเปิดเป็นฮอสพิเทล เป็นต้น (2) ด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยการปรับรูปแบบการทำงานของพนักงาน และปรับการจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับรายได้ของโรงแรม เช่น การพัฒนาให้พนักงาน 1 คน ทำงานได้มากกว่า 1 หน้าที่ (3) ด้านการดำเนินงานภายในองค์กร เป็นการบริหารจัดการโรงแรมให้สามารถอยู่รอดและลดค่าใช้จ่ายของโรงแรมให้ได้มากที่สุด เช่น การปิดโรงแรมชั่วคราวและกลับมาเปิดในสถานการณ์ที่ดีขึ้น หรือการลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคเพื่อให้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายสอดคล้องกับรายได้ (4) ด้านการเงิน เป็นการปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยลดต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น การลดต้นทุนวัตถุดิบในการทำอาหารของโรงแรม เป็นต้น
Description
The purposes of the research on "Guidelines for the adaptation of medium-sized hotel business in Chiang Mai during the COVID-19 crisis" were to study the impact and adaptation of medium-sized hotel business in Chiang Mai Province during the COVID-19 crisis, leading to suitable suggestions for adaptive strategies for medium-sized hotels during future epidemic crises. This study employs qualitative research to interviews with six medium-sized hotel entrepreneurs in Chiang Mai Province. The study found that during the COVID-19 crisis, hotels had an economic impact that resulted in a more than 70 percent drop in hotel revenue and some hotels increased costs by purchasing cleaning supplies to prevent COVID-19. As for the social impact section, employees did not have income, and this led to their resignation. From the above effects, it led to all four aspects of adaptation, namely: (1) marketing aspect: to increase revenue generation channels and increase revenue for the hotel, such as, selling room vouchers, food delivery, and transforming the hotel into a hospital. (2) Human resources aspect: the hotel has restructured its staff, adjusted the work style of employees, and adjusted the compensation to be in line with the hotel's income by paying half the salary of employees and paying only on the day of coming to work and adopt multiple-tasking practice. (3) Hotel operations by temporarily closing the hotel a in reducing utility costs so (4) financial aspects: by reducing operating costs, such as the cost of raw materials for cooking at the hotel, etc.
Keywords
การปรับตัว, ธุรกิจโรงแรม, โรงแรมขนาดกลาง, ภาวะวิกฤต, กลยุทธ์การจัดการ, Adaptation, Hotel business, Medium-sized hotel, Crisis Management Strategy
Citation
ภูษณิศา ทิพย์วงศ์. (2566). แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).