ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล)
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลของจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์จากการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล) อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับ แบบทดสอบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.57/79.50 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.5729 หรือคิดเป็นร้อยละ 57.29 3) นักเรียนมีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตนเองของนักเรียนที่ค่าเฉลี่ย 3.89 อยู่ในระดับมาก
Description
The purposes of this research are 1) to develop and investigate efficiency of lesson plan that uses research-based learning model (RBL) to enhance mathematical habits. 2) study the effectiveness index after learning by lesson plan that uses research-based model (RBL) to enhance mathematical habits, and 3) study the effect of mathematical habits of mind from the use of a research-based learning model (RBL). The objective group in research were 10 four grade students from Banjen jenjantranukul School Phukamyao District, Phayao. Selected by purposive sampling. The research instruments were mathematic lesson plan that uses research-based model on addition and subtraction of numbers, mathematical habits of mind test, observation form and self-assessment form. The statistics used to analyze the mean, standard deviation and Nonparametric Statistics by using The Wilcoxon signed rank test. The results of the study were found as follow. 1) The effectiveness of lesson plan that uses research-based learning model on addition and subtraction of numbers of four grade students were found at the effectiveness standard of 78.57/79.50. 2) effectiveness index of research-based learning model were found at 0.5729 which could be inferred that the students had learning progresses at 57.29%. 3) The students have mathematical habits of mind before and after using the research-based learning model (RBL) were significantly different at the 0.05 level. The observation form mathematical habits of mind had a mean of 3.83 at a high level and The self-assessment average was 3.89, which was at a high level.
Keywords
จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์, รูปแบบการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, คณิตศาสตร์, Mathematical habits of mind, Research-based learning model, Mathematic