แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2023
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำนวน 210 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน แล้วจำแนกประชากรครูผู้สอนตามสถานศึกษา กำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณเทียบบัญญัติไตรยางค์ของครูผู้สอน จำแนกตามสถานศึกษา แล้วสุ่มตัวอย่างครูผู้สอนตามสัดส่วนแต่ละสถานศึกษา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายให้ได้ครบตามจำนวน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) กรณีหากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Fisher’s Least Significant Difference) ผลวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ตำแหน่งงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านเงินเดือน 2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน 3) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันในด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในงาน และด้านเงินเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สหวิทยาเขตภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณรายด้านพบว่า ในด้านปกครองบังคับบัญชา และด้านความมั่นคงในงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
The purposes of this research were to study and compare the work motivation of teachers in Phu Kam Yao Consortium the Secondary Educational Service Area Office Phayao by position, education level, and work experience. The samples are 210 school teachers in Phu Kam Yao Consortium The Secondary Educational Service Area Office Phayao. Determined sample size by using Krejcie and Morgan Table. Did the multi-stages sampling: distinguished teacher population by schools; determined the sampling proportion by using the rule of three math of teachers; randomized sampling teachers according to the school proportion by using simple random sampling. The research instruments used were five-rating scale questionaries. The Index of item objective congruence is between 0.67 and 1.00 and the reliability value is 0.96. The statistical tools used for data analysis included percentages, means, standard deviations, T-test, F-test. When statistically significant differences were found, compare paired means by using Fisher’s Least Significant Difference The results of this research were 1) Work motivation of teachers in Phu Kam Yao Consortium the Secondary Educational Service Area Office Phayao in overall and each individual aspect were considered at high level. Furthermore, the priority order including Interpersonal Relation with Peers, the work itself, Personal life, Responsibility, Achievement, Stability, Advancement, Interpersonal Relation with Superior, Supervision Technical, working conditions, Recognition, Company Policy and Administration, and Salary were ranked respectively. 2) The result of the comparison of the work motivation of teachers in Phu Kam Yao Consortium the Secondary Educational Service Area Office Phayao classified by position, the result showed that they were not different. 3) The result of the comparison of the work motivation of teachers in Phu Kam Yao Consortium the Secondary Educational Service Area Office Phayao –classified by education level, in overall found that there were differences in Interpersonal Relation with Superior, Stability, and Salary, statistically significant at the 0.05 level. And 4) The result of the comparison of the work motivation of teachers in Phu Kam Yao Consortium the Secondary Educational Service Area Office Phayao –classified by work experience, in overall there was no differences. When considered by each individual aspect, it was found that there were differences in Supervision Technical and stability, statistically significant at the 0.05 Level.
Keywords
แรงจูงใจ, ครูผู้สอน, Motivation, Teacher