การศึกษาวิธีการสกัดและผลของอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวต่อปริมาณอินนูลินในกระเทียม
dc.contributor.author | จารุพิชญา โฮมลคร | |
dc.date.accessioned | 2024-06-17T06:49:15Z | |
dc.date.available | 2024-06-17T06:49:15Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.description | Garlic (Alium sativum linn) is a bulb plant containing high inulin. Currently, inulin is popularly used in the food industry because of prebiotic properties. Therefore, the aim of this research was to optimize the method for inulin extraction from waste residue of garlic oil industry by using water as a solvent at water to dried garlic residue ratio about 3 levels as 1: 4, 1: 6 and 1: 8. The result showed that amount of inulin had no significant difference in all ratios (p < 0.05). Further study, the effect of temperature on the extraction of inulin was observed at room temperature (30-35 'C) and high temperature at 60 'C and 80 'C. The highest amount of soluble dietary fiber at 80 'C and 60 'C were found 70.99% and 69.27% (p < 0.05), respectively. The effect of shelf life on changes of inulin in garlic bulbs were determined in 7 periods at 0, 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days. It was found that garlic bulbs after harvest at O and 15 days had high amount of inulin content (p < 0.05) about 78.50% and 73.71% respectively. Moreover, the prebiotic testing of inulin extracted from dried garlic residue higher promoted growth of Lactobacillus acidophilus TISTR 2365 and Lactobacillus plantarum TISTR 1465 better than the control. but could not inhibit the growth of Escherichia coli DMST 4212. | |
dc.description.abstract | กระเทียม (Alium sativum Linn) เป็นพืชหัวที่พบว่า มีปริมาณอินนูลินสูง ปัจจุบันอินนูลินได้นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการสกัดอินนูลินที่เหมาะสมจากกากกระเทียมที่ผ่านการสกัดน้ำมันกระเทียม โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในอัตราส่วนผสมระหว่างผงกากกระเทียมต่อน้ำ 3 ระดับ คือ 1:4, 1:6 และ 1:8 พบว่า อัตราส่วนไม่มีผลต่อปริมาณอินนูลินที่สกัดได้ (p < 0.05) จากนั้นศึกษาความแตกต่างของอุณหภูมิการสกัด 3 ระดับ คือ อุณหภูมิห้อง (30-35 องศาเซลเซียส), อุณหภูมิสูง 60 องศาเซลเซียส และ 80 องศาเซลเซียส พบว่า การสกัดที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และ 60 องศาเซลเซียส มีปริมาณอินนูสินสูงที่สุด (P < 0.05) ที่ 70.99% และ 69.27% ตามลำดับ ผลการศึกษาอายุการเก็บรักษากระเทียมหลังการเก็บเกี่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินนูลินในกระเทียม โดยวิเคราะห์อายุการเก็บรักษากระเทียม 7 ช่วง คือ 0, 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน พบว่า อายุการเก็บรักษากระเทียมหลังการเก็บเกี่ยว ช่วงวันที่ 0 และ 15 วัน มีปริมาณอินนูลินสูง (P < 0.05) ที่ 78.50% และ 73.71% ตามลำดับ จากผลการทดสอบการเป็นพรีไบโอติกของผงอินนูลินที่สกัดจากกากกระเทียม พบว่า สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรีย Lactobacillus acidophilus TISTR 2365 และ Lactobacillus plantarum TISTR 1465 ได้ดีกว่าชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Escherichia coli DMST 4212 ได้ | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/601 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | อินนูลิน | |
dc.subject | การสกัด | |
dc.subject | กากกระเทียม | |
dc.subject | Inulin | |
dc.subject | Extraction | |
dc.subject | Garlic residues | |
dc.title | การศึกษาวิธีการสกัดและผลของอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวต่อปริมาณอินนูลินในกระเทียม | |
dc.title.alternative | Study of Extraction Method and Effect of Postharvest Life on Inulin Content in Garlic (ALIUM SATIVUM LINN) | |
dc.type | Thesis |