การรับรู้การบริหารของหัวหน้างานและการสนับสนุนทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

No Thumbnail Available
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารของหัวหน้างาน การสนับสนุนทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.920 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติทดสอบทีแบบอิสระ (T-test independent) หรือการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) วิเคราะห์การอธิบายประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งมีผลการวิจัย พบว่า 1) พบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างอายุ ในการสนับสนุนทางสังคมของบุคลากรฝ่ายสนับสนุน บริการ ไม่พบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างเพศ สถานภาพสมรส อายุงาน ตำแหน่งงาน และระดับการศึกษา 2) พบว่า การรับรู้การบริหารของหัวหน้างาน และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการ ทางบวกระดับปานกลาง (r=0.426 และ r=0.656) 3) การรับรู้การบริหารของหัวหน้างานและการสนับสนุนทางสังคม ทั้งสองตัวแปรร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการ ได้ร้อยละ 43.4 โดยการรับรู้การบริหารของหัวหน้างาน (SB) β=0.092, การสนับสนุนทางสังคม (SS) β=0.722
Description
The current research aimed to study the relationship between perception on the management of supervisors, social support and the performance of personnel at the Service Support Department at Thammasat University Hospital. Questionnaires with the validity at .920 were randomly distributed to participants. Descriptive analysis, T-test Independent, On-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation, and Multiple Regression were applied to analyze the data. The results were as follows: 1) there were no significant differences between gender, marital status, job age, job position and education level among the participants, but there was a significant difference between period of time that each participant working at the Social Support Department and the social support. 2) There was a moderately positive relationship between the perception of their supervisors’ management, the social support and their work performance (r=0.426 and r=0.656, respectively). 3) Both variables (the perception of supervisors’ management and the social support) could explain the performance of the personnel at the Service Support Department with multiple linear regression at 43.4 percent. The regression coefficient (β) of the perception of the management of the supervisor (SB) was 0.092, and β of the social support (SS) was 0.722.
Keywords
การบริหารของหัวหน้างาน, การสนับสนุนทางสังคม, ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร, Supervisors management, Social support, Personnel performance
Citation
ทัศนีย์ นิมนภาโรจน์. (2562). การรับรู้การบริหารของหัวหน้างานและการสนับสนุนทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).