การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับกลวิธี SQP2RS
dc.contributor.author | นัทธ์ชนัน แก้วดวงใจ | |
dc.date.accessioned | 2025-03-06T04:00:38Z | |
dc.date.available | 2025-03-06T04:00:38Z | |
dc.date.issued | 2024 | |
dc.description | The purposes of this research were to: 1) develop learning activities using folk literature-based approach learning activities and SQP2RS strategies to enhance the critical reading ability among Mattayomsuksa 3 and 2) study the results of learning activities using folk literature-based approach learning activities and SQP2RS strategies to enhance the critical reading ability among Mattayomsuksa 3. The sample for this research was 17 students in Mattayomsuksa 3 of BanWangfon (Sithiratbumrung) School in the 1st semester of the academic year 2023, by cluster random sampling. The research instruments were: 1) the learning management plans based on the folk literature-based approach and SQP2RS strategies, comprising four plans with a total study time of 9 hours; and 2) the critical reading test, a multiple-choice type for 20 questions. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and dependent sample t-test. The results were found as follows: 1) The learning management plans using folk literature-based approach learning activities and SQP2RS strategies to enhance the critical reading ability among Mattayomsuksa 3 where the four main teaching steps of the learning activity model were: 1.1) stimulate critical thinking, 1.2) survey, 1.3) respond, and 1.4) summarize and evaluate. The learning management plan was checked by experts, and all were found to be appropriate plan at a high level (M = 4.36, SD = 0.84). 2) The effects of trying out the learning activity plans using a folk literature-based approach learning activities and SQP2RS strategies to enhance the critical reading ability among Mattayomsuksa 3 were found that 2.1) The efficiency of learning management plans (E1/E2) equals 83.28/80.29, which is higher than the standard criteria, and 2.2) Students had a critical reading ability on the post-test that was higher than the pretest at the significant level of .05. | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS จำนวน 4 แผน รวมเวลาเรียน 9 ชั่วโมง และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัยประเภทเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1.1) กระตุ้นให้นึกคิด 1.2) สำรวจ 1.3) ตอบสนอง และ 1.4) สรุปและประเมินผล โดยแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว พบว่า ทั้ง 4 แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (M = 4.36, SD = 0.84) 2) ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS (E1/E2) เท่ากับ 83.28/80.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และ 2.2) นักเรียนมีความสามารถในอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | นัทธ์ชนัน แก้วดวงใจ. (2567). การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับกลวิธี SQP2RS. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC). | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1327 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ | |
dc.subject | วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน | |
dc.subject | กลวิธี SQP2RS | |
dc.subject | Critical reading | |
dc.subject | Folk literature-based | |
dc.subject | SQP2RS strategies | |
dc.title | การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับกลวิธี SQP2RS | |
dc.title.alternative | Enhancing The Critical Reading Ability Among Mattayomsuksa 3 Students’ Using Folk Literature-Based Approach Learning Activities and SQP2RS Strategies | |
dc.type | Thesis |