กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชุดภาษาไทยเพื่อชีวิตภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
dc.contributor.author | อัญสุรีย์ เทพสุธรรม | |
dc.date.accessioned | 2024-02-08T09:11:45Z | |
dc.date.available | 2024-02-08T09:11:45Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.description | The objective of this research was to analyze language strategies to covey ideology in the textbook of basic Thai language courses elementary school according to the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. With the concept of Critical Discourse Analysis of Norman Fairclough (Norman Fiarclough) by presenting a descriptive analysis. The results of the analysis of language strategies to convey ideology in the textbook of the basic Thai language course found that language strategies used to convey ideology to children. It consists of 7 language strategies were as follows: Lexical choices, Modality, Referencing, Reasoning, Rhetorical, multivoicedness and Topics. The analysis of the ideology that appeared in the textbook of the basic Thai language course found that good children's ideology and poor children's ideology. That was to say, the ideal of good children will look like a desirable person with behavioral characteristics, thoughts and beliefs. The five areas of good deeds are gratitude, diligence and determination to study, generosity, honesty and knowing how to save. The ideology of a poor children was characteristic of undesirable person. There were four bad behavioral traits: theft behavior, behavioral aspects related to drugs, inattentive to study behavior and aggressive behavior disobedience. | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย และเพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฎในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิตภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ด้วยกรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของ นอร์แมน แฟร์คลัฟ (Norman Fiarclough) โดยการนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย พบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดอุดมการณ์ให้แก่เด็ก ประกอบด้วยกลวิธีทางภาษา 7 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการเลือกใช้คำศัพท์ กลวิธีการใช้คำแสดงทัศนภาวะ กลวิธีการอ้างส่วนใหญ่ กลวิธีการใช้ประโยคแสดงเหตุผล กลวิธีการใช้วาทศิลป์ กลวิธีการใช้เสียงที่หลากหลาย และกลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง ส่วนการวิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย พบอุดมกรณ์เด็กดี และอุดมการณ์เด็กไม่ดี กล่าวคือ อุดมการณ์เด็กดี จะมีลักษณะเป็นบุคคลที่พึงประสงค์ โดยมีลักษณะพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ การกระทำในทางที่ดี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความกตัญญูรู้คุณ ด้านความขยันหมั่นเพียรตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ด้านการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านการรู้จักประหยัดอดออม ส่วนอุดมการณ์เด็กไม่ดีเป็นลักษณะของบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ โดยมีลักษณะพฤติกรรมในด้านไม่ดี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมลักขโมย ด้านพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้านพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียน และด้านพฤติกรรมก้าวร้าวไม่เชื่อฟัง | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/290 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | กลวิธีทางภาษา | |
dc.subject | อุดมการณ์ | |
dc.subject | หนังสือเรียน | |
dc.subject | การศึกษาขั้นพื้นฐาน | |
dc.subject | Language strategies | |
dc.subject | Ideology | |
dc.subject | Textbooks | |
dc.subject | Basic Education | |
dc.title | กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชุดภาษาไทยเพื่อชีวิตภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 | |
dc.title.alternative | Language Strategies to Covey Ideology in The Textbook of Basic Thai Language Courses Elementary School According to The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 | |
dc.type | Thesis |