การวิเคราะห์หาปริมาณเมทานอลและเอทานอล ในตัวอย่างน้ำหมักผลไม้โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี
dc.contributor.author | ธีระพล แก้วเกิด | |
dc.contributor.author | รัตนาภรณ์ แพงแซง | |
dc.date.accessioned | 2024-12-04T09:05:55Z | |
dc.date.available | 2024-12-04T09:05:55Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.description | Determination of methanol and ethanol contents in 5 fruit fermented samples, including guava, papaya, jicama, muskmelon and bananas, using gas chromatography, coupled with a flame Ionization Detector. The optimum conditions for methanol and ethanol were also investigated. The optimum conditions were 2 mL/min nitrogen gas, 160 ˚C, 50 ˚C column temperature, 140 ˚C detector temperature. The linear relationship between peak areas and methanol concentration and ethanol concentration was obtained over the range 0.5-30 (%v/v) with a linear coefficient (R2) of 0.9996 and 0.9991, respectively. Using this method, less than 5 minutes was required to obtain results since sample preparation and the limit of detection and quantitation of methanol and ethanol were 0.007, 0.023 and 0.024 0.079 (%v/v), respectively. The recovery was found in the range of 92-103 %. The proposed method was successfully applied to the determination of methanol and ethanol contents in 5 fruit fermented samples, including guava, papaya, yam, watermelon, bananas, and with the advantages of simple pretreatment procedures, rapidity and accuracy. | |
dc.description.abstract | การวิเคราะห์หาปริมาณเมทานอล และเอทานอล ในตัวอย่างน้ำหมักผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง มะละกอ มันแกว แตงไทย และกล้วย โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีต่อพ่วงกับเครื่องตรวจวัดเฟลมไอออนไนเซชัน ซึ่งได้ทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทดลอง โดยได้สภาวะที่เหมาะสมในการทดลอง ได้แก่ อัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจน 1.0 มิลลิลิตรต่อนาที อุณหภูมิของระบบฉีดสาร 160 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของคอลัมน์ 50 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิของตัวตรวจวัด 140 องศาเซลเซียส โดยได้ค่าที่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างความเข้มข้นของเมทานอล และเอทานอล กับค่าพื้นที่พีค อยู่ในช่วงความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ถึง 30 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ซึ่งมีค่าสมการถดถอยของเมทานอล และเอทา-นอล เท่ากับ 0.9996 และ 0.9991 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์โดยวิธีนี้รวมถึงขั้นตอนการเตรียมสารตัวอย่าง พบว่า วิธีการวิเคราะห์นี้สามารถหาปริมาณของเมทานอล และเอทานอล ได้ในเวลาน้อยกว่า 5 นาที โดยมีค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัดของเมทานอล และเอทานอล เท่ากับ 0.007 และ 0.024 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ตามลำดับ และค่าขีดจำกัดในการตรวจวัดเชิงปริมาณของเมทานอล และเอทานอล เท่ากับ 0.023 และ 0.079 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละการได้กลับคืนของเครื่องมือที่ใช้ อยู่ในช่วง 92 ถึง 103% ซึ่งวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อหาปริมาณเมทานอล และเอทานอล ในตัวอย่างน้ำหมักผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง มะละกอ มันแกว แตงไทย และกล้วยได้ โดยข้อดีของการวิเคราะห์นี้ คือ มีความง่ายในการเตรียมสารตัวอย่าง สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งมีความถูกต้อง และแม่นยำสูง | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | ธีระพล แก้วเกิด และรัตนาภรณ์ แพงแซง. (2563). การวิเคราะห์หาปริมาณเมทานอลและเอทานอล ในตัวอย่างน้ำหมักผลไม้โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1076 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | เมทานอล | |
dc.subject | เอทานอล | |
dc.subject | เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี | |
dc.subject | เฟลมไอออไนเซชัน | |
dc.subject | Methanol | |
dc.subject | Ethanal | |
dc.subject | Gas chromatography | |
dc.subject | Flame Ionization Detector | |
dc.title | การวิเคราะห์หาปริมาณเมทานอลและเอทานอล ในตัวอย่างน้ำหมักผลไม้โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี | |
dc.title.alternative | Determination of Methanol and Ethanol in Fruit Fermented Samples, Using Gas Chromatography | |
dc.type | Other |