การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน 2) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน 3) เพื่อประเมินด้านผลผลิตที่เกิดขึ้นของโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน จำนวน 182 รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน ทั้ง 16 โรงเรียน จำนวน 124 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation = S.D.) ผลการวิจัย พบว่า การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description
The purposes of this research were: 1) To assess the inputs of the project of developing teacher potential in active learning management of Phrapariyattidham School, Nan Province 2) To assess the operational process of the project of developing teacher potential in active learning management of Phrapariyattidham School Nan Province 3) To assess the productive aspects of the teacher potential development project in the field of active learning management of Phrapariyattidhamma School, Nan Province. Populations were 182 people from school administrator and teachers of Phrapariyattidhamma School. Department of General Education, Nan Province. The sample were 16 schools, 124 people from school administrator and teachers of Phrapariyattidhamma School. Department of General Education, Nan Province. The estimation was at 5 levels with a confidence value of O.91. The statistics for the analysis were frequency distribution, percentage, mean statistic (Mean) and Standard Deviation (S.D.) The results that : 1) the input assessment overall, it was at a high level. 2) The process assessment overall, it was at a high level. 3) The product assessment overall, it was at a high level.
Keywords
การประเมินโครงการ, พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา, The Project Evaluation, Development of Teachers and Educational Personnel
Citation