ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Loading...
Thumbnail Image
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด ที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 4) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีการดำเนินงานวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative research) จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t – test , One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และประกอบพนักงานเอกชน/รับจ้าง และมีรายได้ประมาณ 15,001-20,000 บาท 2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสักการะพระธาตุนาดูน นิยมเดินทางกับครอบครัวในช่องวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว และพักที่พักประเภทบ้านญาติ/ เพื่อน โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่ำกว่า 1,000 บาท ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวครั้งแรก และสถานที่ท่องเที่ยวประทับใจ คือ องค์พระธาตุ สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการพัฒนา คือ องค์พระธาตุ 3) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย = 4.59) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.54) ด้านราคา (ค่าเฉลี่ย = 4.50) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.49) ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 4.47) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด(ค่าเฉลี่ย = 4.41) ตามลำดับ 4) ความสำคัญขององค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์ กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.52) รองลงมา ได้แก่ ด้านกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.49) ด้านการเข้าถึง (ค่าเฉลี่ย = 4.44) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย = 4.37) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านที่พักแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.22) ตามลำดับ การวิจัยนี้จะสามารถสร้างคุณประโยชน์ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว อำเภอนาดูน ได้แก่ องค์พระธาตุนาดูน พิพิธภัณฑ์นครจัมปาศรี พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เพื่อสักการะองค์พระธาตุนาดูน ที่สำคัญยังต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคามอย่างยั่งยืนตลอดไป
Description
The objectives of this study were: 1) to study the personal particulars that relating to Thai tourist intention visiting Pra Tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham; 2) to study the behavior of Thai tourist in Pra Tat Nadun, Nadun District. Mahasarakham; 3) to study the important of marketing factors that relating to Thai tourist intention to visit Pra Tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham. 4) to study the components of Thai tourist intention to visit Pra tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham. The respondents were 400 Thai tourists who visited Pra Tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham for Quantitative Research with narrative statistic such as frequency, percentage, mean, SD, Independent t – test and One-way ANOVA The results revealed that: 1) Most of the respondents were 30 -39 year-old-married ladies with bachelor degree or equal. They were the employee in private company with 15,001 – 20,000-baht present income; 2) The aim of most of the respondents gather for worship with their family in the weekend by their own car and stay with their relative’s or friend’s accommodation with less than 1,000 baht for transportation fee. It was the first visit with their impression to Phra Tat Structure. Anyway, Phra Tat Structure should be reconstructed; 3) The important of the factor of marketing relating to the tourist intention to visit Phra Tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham was the most (mean= 4.51) which divided into the sale channel was the highest and the human resource was the highest (mean 4.59) the product factor was the highest (mean = 4.54) the cost was the highest (mean = 4.50) the physical instruction was high (mean = 4.49) the service process was high (mean = 4.47) the promotion was high (mean = 4.41); 4) The important of Thai tourist visited Phra Tat Nadun, Nadun District, Mahasarakham was divided into attractive was the highest (mean = 4.52) the activity was high (mean = 4.49) the touchable was high (mean = 4.44) the facility was high (mean = 4.37) and the accommodation was high (mean = 4.22) respectively. This research will create benefits in a way to promote cultural tourism for Thai tourist to travel Phra tat Nadun, Nadun District, Maha Sarakham Province. And also, to support tourist traveling to Nadun District to visit Nakhon Champa Si Museum, Isan House Museum and mainly to pay respect to Phra Tat Nadun to create understanding with people in the area. To create a positive attitude being a good host to welcome Thai tourist to travel in sustainable tourism in Maha Sarakham Province forever.
Keywords
ความตั้งใจ, นักท่องเที่ยวชาวไทย, พระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม, Intention, Thai tourists, Phra That Na Dun Mahasarakam
Citation
นฤดี โพธิ์พยัคฆ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).