การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาและการควบคุมคุณภาพการผลิตของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดตรากว๊านพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา และควบคุมคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตในเชิงการค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ ผลการทดลองพบว่า วัตถุดิบบางชนิดที่โรงงานปุ๋ยอินทรีย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยานำมาใช้นั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของปุ๋ยที่ผลิตได้ จนบางครั้งปุ๋ยที่ผลิตได้มีคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงฯ อย่างไรก็ตาม กระบวนการต่าง ๆ ในสายพานการผลิตของโรงงานนั้น ไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มานั้น แสดงให้เห็นว่า 1) ความเข้มข้นสปอร์เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ 1x109 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ที่ผสมกับกากน้ำตาลความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมต่อการผลิตปุ๋ย แต่ยังไม่เหมาะสำหรับการผลิตในสายพานการผลิตของโรงงาน เนื่องจากขั้นตอนการลดความชื้นไม่เหมาะสมต่อการรอดชีวิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มา 2) ปุ๋ยที่ไม่ผ่านขั้นตอนการลดความชื้นจะมีอัตราการรอดชีวิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่สูงขึ้น อีกทั้งสามารถและเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้นด้วย การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไปนั้น สามารถลดการเกิดโรคเหี่ยวที่มีสาเหตุจากเชื้อฟูซาเรียมในเมล่อนได้ การใส่ปุ๋ยในครั้งนี้ให้ผลในเชิงบวกต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของเมล่อนด้วย
Description
Experiments were aimed at the product improvement of organic fertilizer pellets in combination with Trchoderma harzianum Rifai and quality control for commercial organic fertilizer products by manufacturing standards of the ministry of agriculture. The results showed that some organic materials obtained from Phayao provincial administration organization’s organic fertilizer pellets factory were found to be relatively poor in quality, resulting in failing to meet the acceptable DOA standard. However, the manufacturing process did not significantly affect the chemical properties of fertilizers produced at the plant. The data from development of products on the combining organic fertilizer pellets with T. harzianum revealed that 1) spores with the concentration 1x109 spores/ml mixed with 10% molasses solution was suitable for production of fertilizer but could not be used in the manufacturing industry because the process of industrial dehumidification in production was unsuitable for the survival of T. harzianum 2) Trichoderma mixed fertilizers with no dehumidification process allowed T. harzianum to have high survival rates and prolonged period of time. The application of Trichoderma organic fertilizer pellets at the rate of 50 kg/rai showed a reduction in the incidence of melon wilt disease caused by Fusarium oxysporum f. cubense. The positive effects of combining fertilizers on plant growth and productivity was observed as well.
Keywords
ปุ๋ยอินทรีย์, ไตรโคเดอร์มา, กระบวนการผลิต, Organic fertilizer, Trichoderma, Production process
Citation