ความนึกเปรียบเทียบเกี่ยวโยงกับการศึกษาของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัยรัฐบาล คสช. พ.ศ. 2557-2562

Loading...
Thumbnail Image
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปภาษาของความนึกเปรียบเทียบที่เกี่ยวโยงกับการศึกษาของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัยรัฐบาล คสช. และ 2) เพื่อศึกษาความหลากหลายในการใช้ความนึกเปรียบเทียบที่เกี่ยวโยงกับการศึกษาของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัยรัฐบาล คสช. โดยศึกษาถ้อยคำของบุคคล 3 กลุ่มซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่ ผู้มอบนโยบายทางการศึกษา ผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษา โดยศึกษาถ้อยคำแสดงความนึกเปรียบเทียบการศึกษา ตามแนวคิดความนึกเปรียบเทียบ และแนวคิดความหลากหลายของภาษา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ รูปภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบเกี่ยวโยงกับการศึกษา จำแนกได้จำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมและพาณิชย์ 2) การเดินทาง 3) การทำเกษตรกรรม 4) การสู้รบแข่งขัน 5) การรักษาทางการแพทย์ 6) การทำลาย 7) การประกอบสร้าง 8) ความเป็นอมนุษย์ 9) ความเป็นครอบครัว 10) การประกอบอาหาร และ 11) การทดลอง รูปภาษาเปรียบเทียบจะปรากฏหน่วยนึกเปรียบเทียบอย่างหลากหลาย ความหลากหลายของการใช้ความนึกเปรียบเทียบพบจำนวน 10 รูปแบบ ได้แก่ 1) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใช้ภาษาในกลุ่มอื่น 2) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น 3) การไม่พบการใช้รูปภาษาเปรียบเทียบในบางหน่วยนึกเปรียบเทียบ 4) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบในภาษาที่มาจากการสื่อสารด้วยการเขียนมากกว่าภาษาพูด 5) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบในภาษาเขียนน้อยกว่าภาษาพูด 6) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบเฉพาะในข้อมูลที่มาจากภาษาพูดเท่านั้นไม่พบในข้อมูลที่มาจากภาษาเขียน 7) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบโดยสื่อถึงบางหน่วยนึกเปรียบเทียบอย่างหลากหลาย 8) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบที่เป็นถ้อยคำเชิงบวกแต่แฝงด้วยนัยทางลบ 9) การใช้รูปภาษาเปรียบเทียบเชิงลบด้วยซึ่งต่างจากกลุ่มอื่นที่เป็นเชิงบวก และ 10) การใช้รูปภาษาเชิงบวกซึ่งต่างจากกลุ่มอื่นที่เป็นเชิงลบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการใช้รูปภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบ และความหลากหลายของการใช้ภาษาของกลุ่มผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Description
The objectives of this thesis were two-fold: 1) to investigate the use of conceits depicting education in the context of basic education during the period of NCPO, and 2) to explore the different ways in which conceits were utilized by language users in the context of basic education during the period of NCPO. The study collected data from three specific groups: policy makers, educational practitioners, and stakeholders. Using the framework of conceit and linguistic variation, it analyzed words and phrases that conceptually represent education. The findings revealed that conceits depicting education could be categorized into 11 groups: 1) industry and commerce, 2) travel, 3) agriculture, 4) battle and race, 5) medical treatment, 6) destruction, 7) building construction, 8) supernatural beings, 9) family, 10) food preparation, and 11) experimentation. Conceits were found to consist of various conceptual units that contribute to different meanings of education. Analyzed data revealed that conceits were employed by language users in 10 different patterns. First, conceits were used most frequently by one group as compared to the other groups of language users. Second, conceits were used least frequently by one group as compared to the other groups of language users. Third, the use of conceits was not found in some units. Fourth, there was a greater use of conceits in written language as compared to spoken language. Fifth, there was a greater use of conceits in spoken language as compared to written language. Sixth, the use of conceits was only found in spoken language, not in written language data. Seventh, conceits were utilized in a number of ways to refer to specific conceptual units contributing to the meanings of education. Eighth, conceits were used in positive statements but with negative connotations. Ninth, conceits were utilized negatively by one group, in contrast to their positive usage by the other groups. Finally, conceits were utilized positively by one group, in contrast to their negative usage by the other groups. The study's findings demonstrate that conceits were commonly used in discussions of education in the context of basic education, and that there was a diverse range of conceits utilized by language users in this context
Keywords
ความนึกเปรียบเทียบการศึกษา, ผู้ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม, รัฐบาล คสช., Conceit of Education, Jargon users, NCPO
Citation