ผลกระทบของการใช้เถ้าลอยและเถ้าหนักต่อสมบัติของคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ
No Thumbnail Available
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาส่วนผสมที่เหมาะสม และศึกษาสมบัติของคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ โดยใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนในอัตราส่วนร้อยละ 0 10 20 และ 30 โดยน้ำหนักและใช้เถ้าหนักแทนที่ทรายบางส่วนในอัตราส่วนร้อยละ 0 10 20 และ 30 โดยน้ำหนัก จากผลการทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดและการดูดซึมน้ำของคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.2601-2556 (คอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ) และสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ได้สูงสุดถึงร้อยละ 30 และเถ้าหนักแทนที่ทรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 30 ในการผลิตคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ ชนิด C12 ที่ความหนาแน่นเชิงปริมาตรในสภาพแห้ง 1,001-1,200 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีกำลังรับแรงอัดและการดูดซึมน้ำตามมาตรฐาน มอก.2601-2556 และมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนค่อนข้างดี
Description
This research aims to develop the optimal mix design and study the properties of cellular lightweight concrete blocks. Fly ash was used to replace Portland cement in the ratio of 0, 10, 20 and 30 percent by weight and bottom ash was used to replace sand in the ratio of 0, 10, 20 and 30 percent by weight. The test results showed that strength and water absorption of developed cellular lightweight concrete blocks met the requirement of the Thai Industrial Standards Institute (TIS) number 2601-2556. Fly ash and bottom ash could be used to replace Portland cement and sand, respectively, up to 30 percent by weight for the production of cellular lightweight concrete blocks class C12 with the dry density of 1,001-1,200 kg/m3 that satisfied the strength and water absorption criteria. A good
Keywords
เถ้าลอย, เถ้าหนัก, คอนกรีตบล็อก, Fly ash, Bottom ash, Concrete block
Citation
อภิชาติ ใจดี. (2564). ผลกระทบของการใช้เถ้าลอยและเถ้าหนักต่อสมบัติของคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.