แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรม ถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางวัฒนธรรมของถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้แก่ อัตลักษณ์ของวัฒนธรรม จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการของถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง เรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และแบบสอบถามความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรม ถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในวัตถุประสงค์ที่ 1 ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ 5 คน ชุมชน 5 คน ประชาชนที่มีบ้านเรือนติดถนนคนเดิน 10 คน ผู้ประกอบการ 10 คน รวม 30 คน กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในวัตถุประสงค์ที่ 2 ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม ซึ่งได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้ 1) ความต้องการด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการด้านการเข้าถึง (Accessibility) อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการต่อสิ่งอำนวย ความสะดวก (Amenity) อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการด้านพหุวัฒนธรรม (Multicultural) อยู่ในระดับมากที่สุด และวัตถุประสงค์ที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของชุมชน และผู้ประกอบการที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ชุมชนและผู้ที่มีบ้านเรือนติดถนนคนเดิน จำนวน 53 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 207 คน ซึ่งได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้ โดยเริ่มจากด้านชุมชน ดังนี้ ความคิดเห็นด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสะดวกในการเดินทาง (Accessibility) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (Amenity) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (Activity) อยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนารูปแบบการสื่อสาร (Development of communication) อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาด้านผู้ประกอบการ ดังนี้ ความคิดเห็นด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสะดวกในการเดินทาง (Accessibility) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (Amenity) อยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (Activity) อยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนารูปแบบการสื่อสาร (Development of communication) อยู่ในระดับมากที่สุด และวัตถุประสงค์ที่ 4 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมถนนคนเดินแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ 4 ท่าน ตัวแทนจากชุมชน 4 ท่าน และตัวแทนจากผู้ประกอบการ 4 ท่าน โดยใช้หลักองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) พหุวัฒนธรรม (Multicultural) 2) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) 3) ความสะดวกในการเดินทาง (Accessibility) 4) สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (Amenity) 5) กิจกรรมทางการท่องเที่ยว (Activity) 6) การพัฒนารูปแบบการสื่อสาร (Development of communication) โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)
Description
The purpose of this study was for study development guideline for multicultural tourism in Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai Province. To analyze context of multicultural of Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai such as cultural identity, product’s strength, problems about running Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai. To analyze tourist’s requirements to developing Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai. To analyze opinions of communities and traders to developing Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai and to offer guidelines for developing Mae Chan Walking Street, Mae Chan District, Chiang Rai. This study was applied research by using semi structured interview and questionnaires. Sample group of the purpose 1 were 5 people from government, 5 people from communities, 10 people from nearby residents and 10 people from traders. Sample group of the purpose 2 were 400 Thai tourists. The results were as follows; 1) Tourist’s requirements about Attraction were superior. 2) Tourist’s requirements about Accessibility were superior. 3) Tourist’s requirements about Amenity were superior and tourist’s requirements about multicultural were superior. Sample group of the purpose 3 were 53 people from nearby residents and communities. 207 people of traders. The results were as follows; 1) Tourist’s opinions about Attraction were superior. 2) Tourist’s opinions about Accessibility were superior. 3) Tourist’s opinions about Amenity were superior. 4) Tourist’s opinions about Activity were superior and 5) Tourist’s opinions about Development of Communication were superior. Sample group of the purpose 4 were 4 people from government, 4 people from communities and 4 people from traders. This purpose was qualitative research by focus group using Multicultural Attraction Accessibility Amenity Activity and Development of Communication.
Keywords
การท่องเที่ยว, พหุวัฒนธรรม, Tourism, Multicultural
Citation