บทบาทในการดําเนินตามนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นําชุมชน กรณีศึกษา ตําบลแม่กา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2019
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) บทบาทในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน 2) สภาพแวดล้อมเงื่อนไขของการทำงานเพื่อบรรลุนโยบายสาธารณะอันส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน 3) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างบทบาทในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน โดยมีกรณีศึกษาที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระดับปฐมภูมิจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) รวม 18 หมู่บ้าน จำนวน 18 คน ตัวแทนชุมชน จาก 18 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 36 คน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน หน่วยงานละ 1 คน จำนวน 8 คน ได้แก่ ตัวแทนอำเภอ เทศบาลตำบลแม่กา กรมป่าไม้ กองทัพบก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา สถานีพัฒนาที่ดิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กา และมหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาหมอกควันในตำบลแม่กา พบว่า ภาครัฐส่วนกลางเน้นการรวมศูนย์อำนาจในการสั่งการแบบบนลงล่าง ภาครัฐสั่งการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 5 ประเด็น ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การปลูกจิตสำนึก การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การจัดทำประชาคม และการจัดทำข้อตกลงชุมชน นอกจากนี้ ผลการศึกษาเรื่องบทบาทผู้นำชุมชน พบว่า ผู้นำชุมชนตําบลแม่กา เป็นผู้นำแบบผู้ตามมีส่วนร่วม และผู้นำตามสถานการณ์ที่เน้นการรักษาสัมพันธภาพ ผู้นำชุมชนพยายามเปิดพื้นที่ให้สมาชิกชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนมีพฤติกรรมที่มุ่งรักษาสัมพันธภาพภายในชุมชนมากกว่าประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา เพราะผู้นำชุมชนต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง อุปสรรคและปัญหาที่พบ คือ การดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันแบบรัฐรวมศูนย์ การเน้นการสั่งการจากภาครัฐส่วนกลาง ให้ผู้นำชุมชนดำเนินนโยบายตามที่ภาครัฐได้กำหนดไว้ ส่งผลให้ผู้นำและคนในชุมชนไม่สามารถสะท้อนอุปสรรคต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาให้ภาครัฐส่วนกลางได้รับรู้ และปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ประการนี้จึงส่งผลต่อการขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ปัญหาหมอกควัน อีกทั้งส่วนกลางมิได้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในภาระงานที่ต้องการความรู้ความสามารถทางเทคนิคสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐส่วนกลางควรสนับสนุนการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบาย ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำชุมชนตำบลแม่กา ควรปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการแก้ไขปัญหาที่โดยเน้นการเป็น ผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือ และผู้นำแบบประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขหมอกควันในตำบลแม่กาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Description
This thesis aims to study community leaders’ roles in solving smog problems in Maeka Sub-district Muang District Phayao Province. In order to provide solutions to smog problem in Maeka Sub-district this thesis investigates problems which obstruct the implementation of policies. This qualitative-based methodology applies in-depth interviews. Key informants of the study are headmen of eighteen villages in Maeka Sub-district two villagers of each village (36 villagers) and eight representatives of eight state agencies, i.e. Muang District Office Maeka Sub-district Municipality the Royal Forest Department the Royal Thai Army Phayao Provincial Office for Natural Resources and Environment Phayao Land Development Station Maeka Sub-district Health Promoting Hospital and the University of Phayao. The study of community leaders’ roles in solving smog problems in Maeka Sub-district illustrates that the central government initiated top-down policies in order to have the aforementioned state agencies support the community leaders to play 5 roles in resolving smog problems, i.e., public relations awareness raising reinforcement of people’s participation arrangements of community meeting and making of community agreements. In addition, community leaders’ role in resolving smog problems was related to participative leadership. The leaders allowed villagers to participate in activities for solving the problems. The leaders also had a human relations orientation. The leaders wanted to avoid conflict with villagers rather than to implement the policy to achieve efficient solutions to smog problems. Centralized policies for solving smog problems were problematic. The top-down approach of public administration obstructed the central government to perceive community leaders and villagers’ day-to-day hindrances to resolve smog problems. This approach brought about lack of villagers’ participation in solving the problems. Moreover, the central authority did not provide necessary support particularly the budget and manpower of expertise. In order to encourage people’s participation in resolving smog problems the central government should support decentralization of policy formulation process. Furthermore, the community leaders should create a democratic atmosphere at the local level to encourage villagers to participate in solving smog problems.
Keywords
บทบาทผู้นําชุมชน, การแก้ไขปัญหาหมอกควัน, การนํานโยบายมาปฏิบัติ, ปัญหาหมอกควันในพะเยา, Community leaders’ roles, Solving smog problems, Smog problems in Phayao, Policy implementation
Citation
วรินยุพา คงสนุ่น. (2562). บทบาทในการดําเนินตามนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นําชุมชน กรณีศึกษา ตําบลแม่กา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).