การคัดเลือกและพัฒนาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดสัตว์ที่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อความสามารถในการพัฒนาเป็นพันธุ์ลูกผสมบนพื้นที่สูง
Loading...
Date
2017
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์พัฒนาสายพันธุ์แท้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสม ที่มีศักยภาพและการปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง จากการใช้เชื้อพันธุกรรม จำนวน 89 สายพันธุ์ คัดเลือกลักษณะทางเกษตรที่ดี จนได้สายพันธุ์แท้ที่ดี จำนวน 12 สายพันธุ์ พบว่า มีลักษณะความแข็งแรงต้นกล้า และระดับความแข็งแรงต้นดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 ขณะที่วันสลัดละอองเกสร และวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58 วัน คะแนนการหักล้มอยู่ในระดับแเข็งแรงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 สำหรับลักษณะทรงต้นและตำแหน่งฝัก มีความสม่ำเสมอปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 จากนั้นทำการผสมระหว่างสายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสมเบื้องต้น และทำการปลูกทดสอบผลผลิตในปลายฤดูฝน (2014L) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC14 ให้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,422 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4199 เท่ากับ 2,124 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับต้นฤดูฝน (2015E) ทำการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 5 คู่ผสมจากปลายฤดูฝน (2014L) ปลูกทดสอบผลผลิตเบื้องต้น พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC11 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,804 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4546 ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 1,966 กิโลกรัมต่อไร่ จึงทำการสร้างพันธุ์ลูกผสมใหม่ 2 วิธี คือ Topcross และ Diallel cross ทำการปลูกทดสอบในฤดูแล้ง (2016D) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF04 x Ki48 ให้มีคำเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,207 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ DK8868 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,013 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการทดสอบหาค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไป วิธีการ Topcross พบว่า สายพันธุ์ UPF22 ให้ค่าสูงที่สุด ขณะที่วิธีการ Diallel cross พบว่า สายพันธุ์ UPFO7 มีค่าสูงที่สุด ในส่วนของค่าสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ วิธีการ Topcross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF02 x Ki60 ให้ค่าสูงสุด และวิธีการ Diallel cross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF07 x UPF02 ให้ค่าสูงสุด
Description
University of Phayao Maize Improvement (UPMI) project has aimed to develop inbred lines and their F, hybrids of field corn having Hight yield potential and adaptation for highland. From selling and selection of eighty-nine lines, twelve lines were selected having good agronomic characters. For example, there were plant and root vigor scoring 5. The percentage of tasseling and silking were averaged about 58 days. In addition, stem and rood lodging were scored about 4. Plant and ear aspects were moderately score about 3. Then F, hybrids were made and were planted for yield trial in late rainy season 2014. The results showed that UPFC14 was the highest grain yield about while 2,422 kg/rai. Check variety, P4199 was about 2,124 kg/rai. In the early rainy season of 2015, the best five hybrids were chosen and sowed comparing with check variety. From yield trial, UPFC11 had yielding about 1,804 kg/rai and P4546 (check) having grain yield about 1,966 kg/rai. Then, crossing were made for two methods, diallel cross and topcross. Evaluating yield trial in dry season of 2016, UPF04 x Ki48 showed the highest grain yield about 2,207 kg/rai higher than DK8868 (check) was about 2,013 kg/rai. Furthermore, UPF22 and UPF07 were the best general combining ability of topcross and diallel cross, respectively. Moreover, the highest specific combining ability were the cross of UPF02 x Ki60 and UPF07 x UPF02 from the topcross and diallel cross methods, respectively
Keywords
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เชื้อพันธุกรรม, สายพันธ์ุแท้, Field corn, Germplasm, Inbred line