การศึกษาวิเคราะห์การตอบสนองทางกฎหมายต่อปัญหาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ธุรกิจครอบครัวเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย แม้ธุรกิจครอบครัวจะมีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากธุรกิจทั่วไป และการดำเนินธุรกิจครอบครัวมีปัญหาหลายประการ แต่ไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะช่วยแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดปัญหาให้กับธุรกิจครอบครัว ปัญหาของธุรกิจครอบครัวประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในสังคมไทย คือ การเกิดข้อพิพาทในครอบครัว เรื่องการแบ่งทรัพย์สินที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรที่จะทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การตอบสนองทางกฎหมายต่อปัญหาของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย การศึกษานี้ได้ใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ข้อพิพาทในการแบ่งทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจครอบครัวมีทั้งในชั้นผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัวกับบุตร และในระหว่างบุตรด้วยกันกฎหมายที่นำมาใช้กับข้อพิพาทดังกล่าว คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย หุ้นส่วน บริษัท และมรดก ผลที่เกิดขึ้น คือ ความไม่เป็นธรรม เนื่องจากกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทมีรากฐานความคิดมาจากแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ คือ หลักอิสระทางแพ่ง (Private autonomy) และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา แต่ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไม่สอดคล้องกับหลักดังกล่าว ส่วนกฎหมายมรดกความเป็นธรรมในการแบ่งมรดกพิจารณาจากสถานภาพของผู้รับมรดก แต่ในธุรกิจครอบครัวสมาชิกในครอบครัวอาจมีส่วนร่วมในการเพิ่มพูนทรัพย์สิน และความมั่งคั่งให้กับธุรกิจครอบครัวต่างกัน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการออกกฎหมายธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางกฎหมายของสมาชิกในครอบครัวที่ร่วมดำเนินกิจการของธุรกิจครอบครัวให้ชัดเจน รวมถึงการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของสมาชิกในครอบครัวดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
Description
Family business is crucial for Thai economic system. Despite the facts that this type of business has unique characters and there are many problems occurred in the business, there is no specific law issued to solve or prevent such problems. One of the family-business problems frequently occurred is family-member dispute over wealth allocation. Thus, the researcher aimed to study how the law responded to the problem. The study was carried out by documentary research and in-depth interviews. The study found that the dispute parties could be either business founders and their heir, or the heirs and the heirs. The law applied to the dispute was the Civil and Commercial Code on partnership and company, and on inheritance. The partnership and company law is heavily based on the concepts of private autonomy and freedom of contract, but the relationship of family members in family business is not in accordance with the concepts. Meanwhile the inheritance law based the fairness of passing the inheritance on the status of the heirs, but the hairs sharing the same status may contribute to the wealth of the family business differently. As a result, injustice occurred when these laws were applied to respond to the family-business disputes. The researcher recommended issuing a specific law for family business to stipulate clear legal relationship of family members who join the business, as well as the rights, duties, and liabilities of those family members and take the fairness for all parties into account.
Keywords
ธุรกิจครอบครัว, ปัญหาธุรกิจครอบครัว, การตอบสนองทางกฎหมาย, Family business, Family business problem, Legal response
Citation
เบญญาภา เกษมปิติสุขสกุล. (2563). การศึกษาวิเคราะห์การตอบสนองทางกฎหมายต่อปัญหาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).