การศึกษาสมดุลของพลังงานในระบบนิเวศป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสมดุลของพลังงานในระบบนิเวศป่าเต็งรังมหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยเทคนิคความแปรปรวนร่วมแบบหมุนวน (Eddy covariance technique; EC) การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลปี 2557 ถึง 2560 พบว่า รังสีสุทธิที่เข้ามาในระบบนิเวศป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา ประมาณร้อยละ 45 จะถูกใช้ไปในการเผาน้ำ (Latent heat; LE) หรือใช้ในการระเหยน้ำของป่า อีกประมาณร้อยละ 23 ใช้ในการเผาอากาศ (Sensible heat; H) และอีกที่เหลือประมาณร้อยละ -4 ใช้ในการเผาดิน (Soil heat flux: Gs) โดยพบปัจจัยทางจุลอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อความร้อนที่ใช้ในการเผาอากาศ (H) และความร้อนที่สะสมในดิน (Gs) ในฤดูแล้ง คือ อุณหภูมิอากาศ (Air temperature: TAir) ส่วนในฤดูฝนพบปัจจัยทางจุลอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อความร้อนที่ใช้ในการเผาน้ำ (LE) คือ ปริมาณน้ำฝน (Rainfall)
Description
This study aims to evaluate the of energy balance in Dipterocarp Forest Ecosystems, University of Phayao using Eddy Covariance technique (EC). This study uses data from 2014-2017. It was found that about 45% of the net radiation entering the dipterocarp forest ecosystem. Most are used to latent heat (LE). Another approximately 23% is used to sensible heat. Approximately -496 is used to soil heat flux (Gs) by finding the micro-meteorological factors that affect the sensible heat (H) and soil heat flux in the dry season is the air temperature. In the wet season, the micro-meteorological factors affecting the heat used to latent heat are rainfall
Keywords
สมดุลของพลังงาน, ความแปรปรวนร่วมแบบหมุนวน, ระบบนิเวศป่าเต็งรัง, Energy balance, Eddy covariance, Dipterocarp Forest Ecosystem
Citation
ปนัดดา สีคต. (2561). การศึกษาสมดุลของพลังงานในระบนิเวศป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.