การใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและการใช้บริการของผู้บริโภคของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น และศูนย์การค้าแห่งใหม่ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า และใช้บริการของผู้บริโภคของห้างสรรพสินค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ภายหลังจากการเปิดของศูนย์การค้าแห่งใหม่ โดยการใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น และศูนย์การค้าแห่งใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และมีแบบสอบถามที่ใช้ได้ จำนวน 380 ชุด จากทั้งหมด 385 ชุด (ร้อยละ 98.7) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์องค์ประกอบ และ T-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้บริโภคศูนย์การค้าแห่งใหม่ และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นเป็นกลุ่มเดียวกัน กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการทั้งสองห้าง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพนักงาน บริษัทเอกชน อายุระหว่าง 18-24 ปี มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 14,999 บาท โดยจะไปใช้บริการอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน ในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 น. ไปจนถึง 20.00 น. โดยช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ไปใช้บริการ คือ 16.00 น.-20.00 น. โดยเดินทางมาใช้บริการกับเพื่อน เพื่อมาเลือกซื้อสินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค ซึ่งจะซื้อสินค้าไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้งโดยจ่ายเป็นเงินสด จากการสกัดปัจจัย พบว่า สามารถจัดกลุ่มปัจจัยออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) การส่งเสริมการขาย และความหลากหลายของสินค้า 2) ระบบสัญจร และสิ่งอำนวยความสะดวก และ 3) สถานที่โดยการส่งเสริมการขายมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกห้างสรรพสินค้าที่ต่างกัน ได้แก่ ที่จอดรถเพียงพอ และสะดวกสบาย ระยะทางระหว่างบ้าน และสถานที่ซื้อสินค้า บัตรสมาชิก และสถานที่เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมครอบครัว และการโฆษณาผ่านสื่อ
Description
The objective of this independent study is to study and to compare factors affecting consumer behavior of consumers of the department stores in Muang District, Phayao Province after the opening of the new shopping center. The population and the sample of this study are the consumers of the shopping center and the consumers of the local department store. The data were collected by using questionnaires and the usable questionnaires were 380 of 385 (98.7%). The data analyses were done by using descriptive statistics, e.g., frequency, percent, and mean, factor analysis and T-test. The results of the study found that the consumers of the shopping center and those of the local department store are the same group. The consumers of each department are mostly students and private company employees whose ages are between 18-24 years and their monthly incomes are not more than 14,999 baht. They go to the department store at least two times a month and usually between 16.00 pm. - 20.00 pm. Their companions are friends. Their purpose is to buy consumer goods and the purchase amount is not more than 1,000 baht per time and pay by cash. From factor analysis, it is found that factors are grouped into 3 factors which include 1) Sales promotion and product variety, 2) traffic systems and facilities, and 3) place. The factor which has the most influence on buying decisions is the first factor. In addition, factors which lead to the different decision to choose different department stores are the sufficiency and convenience of parking, the distance between a consumer’s home and the department stores, membership cards, space for recreation and family activities, and advertising through media.
Keywords
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ส่วนผสมการตลาด, ห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น, ศูนย์การค้า, จังหวัดพะเยา, Factor analysis, Service marketing mix, Local department store, Shopping center, Phayao Province
Citation