วาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา 2) ศึกษากลวิธีการสร้างวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยนำข้อมูลจากเอกสารนิทานพื้นบ้านล้านนาของสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 410 เรื่อง นำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดเรื่องวาทกรรม (Discourse) ของมิเชล ฟูโกต์ (Michael Foucault) แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity) และแนวคิดนิทานพื้นบ้านแล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า วาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นล้านนาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา มี 9 วาทกรรมอัตลักษณ์ ได้แก่ 1) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี ชาวล้านนามีความศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักธรรมและปรัชญาคำสอน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 2) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านภาษา มีการใช้คำในการตั้งชื่อ การใช้คำเรียก การใช้คำนำหน้าชื่อ การใช้คำที่มีความหมายเดียวกันกับภาษาไทยมาตรฐานแต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน 3) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านอุปนิสัย มีความโดดเด่นด้านความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคารพเชื่อฟังผู้มีอาวุโส อีกทั้งฝังใจกับการเสี่ยงโชค 4) วาทกรรมอัตลักษณ์ของสตรีล้านนา มีบทบาทหน้าที่การเป็น “ภรรยา” ที่รับผิดชอบงานในบ้านทุกอย่าง ในขณะเดียวกันต้องตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ชายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านการประกอบอาชีพประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 6) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านที่อยู่อาศัย จะสร้างที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ วีถีชีวิตจึงมีความผูกพันกับธรรมชาติ 7) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านอาหาร มีกรรมวิธีการปรุงง่าย ๆ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเอง 8) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านการแต่งกายจะแต่งกายพื้นเมืองโดยใช้ผ้าทอ และ 9) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านความเชื่อ มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาผสานกับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ สำหรับกลวิธีการสร้างวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา จำแนกได้ 5 กลวิธี คือ 1) กลวิธีทางศัพท์ เช่น การใช้คำเรียก การใช้คำกริยา การกล่าวอ้าง 2) กลวิธีการขยายความ เช่น การขยายความที่แสดงอัตลักษณ์เชิงบวก และการขยายความที่แสดงอัตลักษณ์เชิงลบ 3) กลวิธีทางวัจนกรรมปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม เช่น การใช้มูลบท การใช้วัจนกรรม และการใช้อุปลักษณ์ เพื่อตอกย้ำและผลิตซ้ำความเป็นล้านนา 4) การใช้กลวิธีทางวาทศิลป์ โดยนำคำประเภทเดียวกันชนิดเดียวกันมาซ้ำกัน และ 5) การใช้กลวิธีทางสัญญะ
Description
The purposes of this research were 1) to study discourse of local identity in Lanna folktales 2) to investigate strategies in forming local identity discourse in Lanna folktales. The data were 410 Lanna folktales collected by Chiang Mai Social Research Institute and were analyzed by discourse theories by Michael Foucault, Identity theory and folktale theory. The results were presented by critical discussion. The results showed that there were nine identities found from the study of discourse of local identities in Lanna folktales as followings: 1) the discourse of identity on culture and custom; Lanna folks have strong belief in Buddhism practicing Buddha’s teaching and philosophy as their way of living. 2) the discourse on Language identity; Lanna people believe in choosing some good words for naming, calling the personal name as well as their title. Besides, there are some uses of some words that have similar meaning but different in pronunciation of standard Thai language. 3) the discourse of Identity on personality; generosity, kindness, paying respect to elderly advice and belief in trying on luck are also found 4) the discourse on Lanna women’s identity; Lanna women’s identity are expressed through their duty as a housewives doing chores in a family as well as the status under men’s power inevitably. 5) the discourse on profession identity; farmers are the main career of Lanna people. 6) The discourse on identity of housing; Lanna people tend to settle down on the lowland between the valleys for natural fertility making strong relationship between them and nature. 7) the discourse on cuisine identity; Lanna folks use local ingredients in cooking. 8) the discourse on dressing identity; woven fabric dressing are their main clothes that are used in their daily life. 9) the discourse on belief identity; Lanan people pay strong faith in Buddhism mixed with supernatural spirits. In terms of strategies in shaping local identities through folktales, there were five strategies found 1) Vocabulary strategy such as using words for naming or calling people, some special verb using and quoting other famous people’s words or ideas 2) Meaning expression strategy of the positive and negative identities 3) Pragmatic and discourse strategy such as the use of presupposition, speech act, simile and narration to repeat Lanna identity 4) Rhetoric strategy by repeating the same classes and types of words and 5) Semiotic strategy
Keywords
วาทกรรม, อัตลักษณ์ท้องถิ่น, นิทานพื้นบ้านล้านนา, Discourse, Local Identity, Lanna Folktales
Citation