แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดสตูลในฐานเมืองรอง

No Thumbnail Available
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดสตูลในฐานะเมืองรอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดสตูลในฐานะเมืองรอง 2) เพื่อศึกษาศักยภาพจังหวัดสตูลในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3) เพื่อวางแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดสตูล และ 4) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดสตูล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน จากองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคนักวิชาการ ด้านการท่องเที่ยว และภาคนักวิชาการ ด้านการตลาดและนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยวิธี SWOT และ TOWS การศึกษาพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดสตูลที่มีความโดดเด่น คือ เกาะหลีเป๊ะ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะเภตรา ปราสาทหินพันยอด หาดสันหลังมังกร ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำเจ็ดคต ถ้ำเลสเตโกดอน และน้ำตกวังสายทอง 2) จังหวัดสตูลมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวแบบบรูณาการอย่างยั่งยืน 3) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดสตูล พบว่า มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมผสมผสานเทคโนโลยีให้เกิดนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวสู่ตลาดการท่องเที่ยว 4.0 การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวในด้านอุปทานให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวนานาชาติและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวให้สอดคล้อง และเชื่อมโยงกับระบบโลจิสติกส์และตลาดการท่องเที่ยว 4 แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดสตูล พบว่า ควรมีเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (TOP และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา และนวัตวิถีชุมชน สู่การสร้าง Brand การค้าที่สามารถแข่งขันได้ ส่งเสริมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดสตูลที่มีคุณภาพและส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดสตูล
Description
Research on guidelines for the development and promotion of natural tourism in Satun Province as a secondary city objective 1) To study natural tourism resources of Satun Province as a secondary city. 2) To study the potential of Satun Province in the development of natural tourism. 3) To lay out guidelines for the development of natural tourism resources in Satun Province and 4) to find ways to promote natural tourism in Satun Province. This study was qualitative research by structuring interviews with 21 key informants from government organizations. Private organizations, the public sector, academic sector in tourism and the academic department of marketing and use the information to analyze the internal and external environment by means of SWOT and TOWS. The study found that 1) The natural tourism resources of Satun Province are outstanding is Koh Lipe, Tarutao National Park Marine National Park, Petra Islands Phan Yod Stone Castle San Lang Mangkon Beach, Phu Pha Pet Cave, Jed Khot Cave, Lestegodon Cave And Wang Sai Thong Waterfall 2) Satun province has the potential to develop natural tourism on the basis of sustainable integrated tourism. 3) Guidelines for the development of natural tourism resources in Satun Province found that there is a need to develop personnel potential for community development by using a process of participation and technology integration to create tourism innovations to the tourism market 4.0 development of tourism management system in the supply side to meet standards to support international tourists and develop tourism routes in accordance with and connect with logistics systems and tourism market. 4) Guidelines for promoting natural tourism in Satun Province. It was found that there should be strengthening the community economy, developing community products, OTOP and wisdom products and innovate the community's way of creating a competitive commercial brand promote quality natural tourism advertising in Satun province and promote conservation restoring natural attractions of Satun Province.
Keywords
การท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, จังหวัดสตูล, Naltural tourism, Tourism development, Tourism promotion, Satun province
Citation
สุนิสา ขะสุวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดสตูลในฐานเมืองรอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.